ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด
18 กันยายน 2563 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด โดยมีนายเกรียงวิชญ์ เตชวิทยไวทิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายสมศักดิ์ แสนสิริ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก หัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการ และสมาชิกสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ณ จุดบริการสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด (สาขา1) ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะผู้บริหารในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด โดยมีนายเกรียงวิชญ์ เตชวิทยไวทิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายสมศักดิ์ แสนสิริ สหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก หัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการ และสมาชิกสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ณ จุดบริการสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด (สาขา1) ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
ในการนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโรงอบลดความชื้นข้าวเปลือก ขนาด 500 ตันต่อวัน และมอบเงินอุดหนุนอุปกรณ์การตลาดแก่สหกรณ์ที่ได้รับการสนับสนุนตามโครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวม และการแปรรูปของสถาบันเกษตรกรรองรับผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 5 สหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด สหกรณ์การเกษตรนิคมฯ บางระกํา จํากัด สหกรณ์วัดจันทร์ จำกัด สหกรณ์ผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านตะแบกงาม จำกัด สหกรณ์ผู้ใช้น้ำชลประทานวัดพริก จำกัด งบประมาณ 80 ล้านบาทเศษ จากนั้นได้พบปะเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตรของจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 5 ราย ที่นำผลิตภัณฑ์มาแสดงและจัดจำหน่าย และกล่าวมอบนโยบายกับสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรผ่านกลไกสหกรณ์ โดยเน้นย้ำให้ร่วมมือกันพัฒนาระบบสหกรณ์ให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องสมาชิกสหกรณ์ และเกษตรกร จากนั้นได้มอบสิ่งของอุปโภคบริโภคแก่ผู้แทนสหกรณ์ จำนวน 600 ถุง
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินโครงการสำคัญ ๆ หลายโครงการผ่านระบบสหกรณ์ เช่น นโยบายการตลาดนำการผลิต ซึ่งให้ความสำคัญในการผลิตสินค้าเกษตรที่ตลาดต้องการ และมีสหกรณ์เป็นกลไกการตลาด มีการสนับสนุนงบประมาณอุดหนุนอุปกรณ์การตลาดให้กับสหกรณ์ที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างความพร้อมในการรวบรวมผลผลิต จากสมาชิกและเกษตรกรทั่วไปให้ดียิ่งขึ้นและอยากให้ช่วยกันสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยเชิญชวนลูกหลานสมาชิกกลับบ้าน มาร่วมพัฒนาการเกษตรที่บ้านเกิด ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาช่วยในการผลิต ลดต้นทุนการผลิตเพิ่มศักยภาพการผลิต รวมถึงสร้างโอกาสทางการตลาด เพื่อพัฒนาสู่ตลาด E-commerce ต่อไปในอนาคต
สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด จดทะเบียนตามพระราชัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2517 ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลา 46 ปี จนถึงปัจจุบัน เป็นสหกรณ์หลักระดับอำเภอที่ให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม การแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิก และเป็นศูนย์กลางการรวบรวมรับซื้อผลิตผลทางการเกษตร โดยยึดแนวนโยบายของรัฐ “ตลาดนำการผลิต” มาปรับใช้ในการวางแผนธุรกิจ และแผนการส่งเสริมอาชีพของสมาชิกให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิก จำนวน 3,674 คน มีทุนดำเนินงาน 925,914,435.18 บาท มีกำไรสุทธิประจำปี จำนวน 26,811,175.06 บาท สหกรณ์ดำเนินธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลผลิต ธุรกิจแปรรูปผลิตผลการเกษตรและการผลิตสินค้าแบบครบวงจร ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์การตลาดจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
ปี 2561 กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างเครื่องอบลดความชื้น ขนาด 500 ตัน/วัน จากโครงการพัฒนาสถาบันเกษตรกรจัดเก็บผลผลิตทางการเกษตร (แก้มลิง) งบกลางปีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน เพื่อช่วยเสริมศักยภาพสหกรณ์ให้มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การตลาด สามารถดำเนินการรวบรวมรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร จากเกษตรกรสมาชิกและเกษตรกรทั่วไปได้อย่างทั่วถึง โดยมีปริมาณผลการรวบรวมรับซื้อผลผลิตข้าวเปลือกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวม 30,490.92 ตัน มูลค่า 226,249,166.50 บาท (ข้อมูล ณ พ.ย.62 - ส.ค.63) สหกรณ์สามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์การตลาดที่ได้รับ โดยนำผลผลิตข้าวเปลือกและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เข้าเครื่องอบลดปริมาณความชื้นลงตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อเก็บรักษาผลผลิตไว้รอการจำหน่ายช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรทำให้เกษตรกรสมาชิกมีความเชื่อมั่นในระบบบริหารจัดการการผลิตและการตลาดของสหกรณ์ ช่วยเหลือเกษตรกรให้มีแหล่งจำหน่ายผลผลิตที่แน่นอน ในราคาที่เป็นธรรม ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นกลไกขับเคลื่อนงานนโยบายของรัฐ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น
{gallery}18sep2563_1{/gallery}