ประวัติกรมส่งเสริมสหกรณ์
ประวัติความเป็นมาของหน่วยงานที่รับผิดชอบงานสหกรณ์ มีดังนี้
แผนกการสหกรณ์ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (พ.ศ. 2458 - 2463)
หน่วยราชการที่รับผิดชอบงานสหกรณ์ เริ่มจากเป็นแผนกหนึ่งในกรม พาณิชย์และสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2458 เหตุที่จัดตั้งแผนกสหกรณ์ขึ้นในส่วนราชการแห่งนี้ เพราะว่า กรมพาณิชย์ และสถิติพยากรณ์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาค และการจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกก็ได้อาศัยเงินกู้จาก แบงก์สยามกัมมาจลทุน- จำกัด(ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน) โดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็น ผู้ค้ำประกันอยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติทำการควบคุม และดูแลผลการดำเนินงานของสหกรณ์อย่างใกล้ชิด ในขณะนั้นมี พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีและ นายทะเบียนสหกรณ์เป็นพระองค์แรก
กรมสหกรณ์กระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2463 - 2477)
หลังจากที่ได้จัดตั้งแผนกสหกรณ์ ก็ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น ปรากฎว่าได้ ผลดี สหกรณ์จึงได้รับการส่งเสริมสนับสนุน จากทางราชการยิ่งขึ้นเพราะสามารถ ทำประโยชน์ให้กับสมาชิกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพาณิชย์ ใน พ.ศ. 2463 จึงเป็นผลให้แผนกสหกรณ์ได้รับการ สถาปนาขึ้นเป็นกรมสหกรณ์ โดยมีพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์สืบต่อ มาจนถึง พ.ศ. 2468 ต่อมาในพ.ศ. 2469 กระทรวงพาณิชย์ได้รวมกับกระทรวง คมนาคม เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม" มีหม่อมเจ้าฉลาดลบเลอสรรค์กมลาสน์ เป็นปลัดทูลฉลองฯ และทรงดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนสหกรณ์ด้วยในตอนปลายปี พ.ศ. 2469 นั่นเองพระยาพิพิธสมบัติ (ตาบ กุวานนท์) ก็ได้เข้ารับตำแหน่งปลัดทูลฉลองฯ และ นายทะเบียนสหกรณ์ ต่อจากหม่อมเจ้าฉลาดลบเลอสรรค์กมลาสน์จนถึง พ.ศ. 2475
ในขณะที่แผนกการสหกรณ์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมสหกรณ์แล้วแต่ก็ยังไม่มีการแต่งตั้งอธิบดีมีเพียงนายทะเบียนสหกรณ์ ซึ่งมีตำแหน่งเทียบเท่า อธิบดีกรม เป็นหัวหน้าบังคับบัญชา ในตอนกลางปีพ.ศ. 2475 หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระยาโทณวนิกมนตรี (วิสุทธิ์ โทณวนิก) ก็ได้ เข้ามารักษาราชการแทนพระยาพิพิธสมบัติในตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ ประมาณ 1 เดือน จึงได้มีประกาศของคณะราษฎร์ ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2475 ว่ามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้หลวงเดชสหกรณ์ (ม.ล.เดช สนิทวงศ์) เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ สำหรับในปี พ.ศ. 2475 กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงเกษตรพาณิชยการ จนถึง พ.ศ. 2476 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงเศรษฐการ และมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพิ่มเติมได้แบ่ง หน้าที่การงานในกระทรวง เศรษฐการออกเป็น2ทบวง คือ กรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2478 - 2494)
เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพิ่มเติม พ.ศ. 2477 ฉบับที่ 3 ยกฐานะทบวงเกษตราธิการเป็น กระทรวงเกษตรา- ธิการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2478 หลวงเดชสหกรณ์ ได้ดำรงตำแหน่งปลัด กระทรวงฯ และพระพิจารณ์พาณิชย์ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้รักษาราชการ ตำแหน่งอธิบดีกรมสหกรณ์ และนายทะเบียนสหกรณ์อยู่ชั่วระยะหนึ่งจึงมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระประกาศสหกรณ์ และดำรง ตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 จนถึงพ.ศ. 2485 จึงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งปลัด กระทรวงเกษตราธิการ และโปรดเกล้าฯ ให้พระพิจารณ์พาณิชย์ ผู้ช่วยอธิบดี ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมและนายทะเบียนสหกรณ์จนถึง พ.ศ. 2492 จึงพ้นจาก ตำแหน่งเพราะครบเกษียณอายุ และได้แต่งตั้งให้ ม.ล.อุดม ทินกร ณ อยุธยา เป็นผู้รักษาราชการแทนนายทะเบียนสหกรณ์ชั่วระยะหนึ่ง จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพงส์ สรีวรรธนะ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมและ นายทะเบียนสหกรณ์เมื่อ วันที่ 18 พฤษภาคม 2493 สำหรับสถานที่ตั้งกรมสหกรณ์ ขณะที่สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ในขั้น แรกอาศัยอยู่ในบริเวณกระทรวงเกษตราธิการ ต่อมาใน พ.ศ. 2481 ปริมาณงาน และจำนวนข้าราชการสหกรณ์เพิ่มมากขึ้น จึงได้ย้ายสถานที่ไปเช่าอยู่ที่วังพระบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ถนนมหาราช ตำบลพระราชวัง อำเภอ พระนคร
กระทรวงสหกรณ์ (พ.ศ. 2495 - 2506)
ในระหว่าง พ.ศ. 2478 - 2494 กิจการสหกรณ์ได้ขยายกว้างขวางขึ้นเป็น อันมากทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ สามารถช่วยเหลือราษฎรให้มีมาตรฐาน การครองชีพสูงขึ้น ในระดับที่น่าพึงพอใจ คณะรัฐบาลสมัยนั้นจึงถือเอาการ สหกรณ์เป็นนโยบายหลักอันสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ และเพื่อให้ การสหกรณ์ในประเทศไทยเจริญรุดหน้าสมความมุ่งหมายของรัฐบาลในการแก้ไข ภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น จึงได้ยกฐานะกรมสหกรณ์เป็นกระทรวง การสหกรณ์ใน พ.ศ. 2495 โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี รักษา ราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสหกรณ์ และในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2495 คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งให้พลอากาศตรี มุนีมหาสัมทนะเวชยันต์รังสฤษดิ์ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสหกรณ์ ต่อจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2495 จึงได้มีประกาศพระบรมราชโองการ แต่ง ตั้งให้ พลเรือตรีหลวงยุทธศาสตร์โกศล รน. เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ สหกรณ์ และมีนายพงส์ สรีวรรธนะ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ตามเดิม
ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2496 กระทรวงการสหกรณ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2496 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2496 มีผู้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ คือ
พลเรือเอกหลวงยุทธศาสตร์โกศล รน ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
นายพงส์ สรีวรรธนะ ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงสหกรณ์และ นายทะเบียนสหกรณ์
นาวาอากาศโทพระเทวัญอำนวยเดช ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
นายเชื้อ วายวานนท์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสหกรณ์ธนกิจ
นายพจน์ สังขะฤกษ์ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสหกรณ์พาณิชย์
ม.ล.อุดม ทินกร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ส่วนสถานที่ตั้งกระทรวงสหกรณ์ ภายหลัง วังกรมหมื่นพิชัยหินทโรดมบอก เลิกสัญญาเช่าแล้ว จึงได้ย้ายไปอยู่ที่โรงเรียมตั้งตรงจิตร บริเวณวัดพระเชตุพนวิ- มลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นการชั่วคราวก่อน ต่อมาจึงได้สร้างกระทรวงสหกรณ์ ขึ้นข้างวัดปรินายก เชิงสะพานผ่านฟ้าลีสาศ และเข้าอยู่เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2500ในปี พ.ศ. 2500 นายพงส์ สรีวรรธนะ ครบเกษียณอายุพ้นจากตำแหน่งจึง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายเชื้อ วายวานนท์ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสหกรณ์ อีกตำแหน่งหนึ่ง และให้ นายทนุ สาตราภัย ผู้อำนวยการกองเศรษฐการสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2500-2502 ซึ่งในช่วงระยะเวลา ดังกล่าว ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี และมีพระบรมราชโองการโปรด เกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสหกรณ์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ต่อมาใน พ.ศ. 2502 จึงได้มี คำสั่งแต่งตั้งให้ นายเชื้อ วายวานนท์ ดำรงตำแหน่งนายทะเบียนสหกรณ์จนถึง พ.ศ. 2505
ส่วนราชการสหกรณ์ในกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ (พ.ศ. 2506 - 2515)
ใน พ.ศ. 2506 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้ยุบเลิก กระทรวงสหกรณ์ และโอนงานทั้งหมดไปเป็นของกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติที่ ตั้งขึ้นใหม่ โดยให้แยกส่วนราชการสหกรณ์ออกมาดังนี้ คือ กองที่เกี่ยวกับการ สหกรณ์ให้ขึ้นกับสำนักงานปลัดกระทรวงฯ นอกจากนี้ก็จัดให้มีกรมสหกรณ์ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่ง นายทะเบียนสหกรณ์ในระยะนั้นมีดังนี้ คือ
- นายทนุ สาตราภัย ระหว่าง พ.ศ. 2506 - 2510
- พลโทชาญ อังศุโชต ระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2511
- พันเอกสุรินทร์ ชลประเสร็ฐ ระหว่าง พ.ศ. 2511 - 2515
- นายสัมฤทธิ์ เลิศบุศย์ ใน พ.ศ. 2514-2515
นับตั้งแต่ได้จัดตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติขึ้นใหม่ รัฐบาลก็ได้มีการ ศึกษาการสหกรณ์มากขึ้น จนถึง พ.ศ. 2511 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย และออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 โดยเปิดโอกาสให้มีการควบสหกรณ์เข้าด้วยกัน ตลอดจนได้จัดแบ่งสหกรณ์ตาม กฎกระทรวงออกเป็น 6 ประเภท
กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2545)
ใน พ.ศ. 2515 ได้มีคำสั่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2515 ยกเลิก พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2506 ตั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขึ้นและยกเลิกกระทรวงพัฒนา การแห่งชาติ พร้อมนี้ได้มีคำสั่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 217 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2515 ให้โอนอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการ ส่งเสริมการสหกรณ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ กรมสหกรณ์ ที่ดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ เป็นกรมส่งเสริมสหกรณ์ สังกัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ โดยมี พันเอกสุรินทร์ ชลประเสริฐ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรม ส่งเสริมสหกรณ์และนายทะเบียนสหกรณ์เป็นคนแรก
กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน)
กรมส่งเสริมสหกรณ์ตามโครงสร้างใหม่โดยอาศัย กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545