Accessibility Tools
ที่มา
คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติเป็นบทบัญญัติในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เพิ่มเติมขึ้นใหม่จากพระราชบัญญัติสหกรณ์
พ.ศ. 2511 โดยกำหนดไว้ในหมวด 2 การกำกับและส่งเสริมสหกรณ์ มาตรา 9 เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ส่งเสริม สนับสนุน คุ้มครอง และวางแผนพัฒนาสหกรณ์ของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคสหกรณ์ ภาคเอกชน และภาครัฐ ในการพัฒนากิจการสหกรณ์ต่อไป
องค์ประกอบของ คพช.
มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้มีคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ประกอบด้วย
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | เป็นประธานกรรมการ |
2. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | เป็นรองประธานกรรมการ |
3. ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | เป็นกรรมการ |
4. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ | เป็นกรรมการ |
5. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ | เป็นกรรมการ |
6. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม | เป็นกรรมการ |
7. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | เป็นกรรมการ |
8. อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ | เป็นกรรมการ |
9. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ | เป็นกรรมการ |
10. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง | เป็นกรรมการ |
11. ผู้จัดการใหญ่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร | เป็นกรรมการ |
12. ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย | เป็นกรรมการ |
13. ผู้แทนสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยซึ่งเป็นกรรมการดำเนินการ | เป็นกรรมการ |
14. ประธานกรรมการดำเนินการชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศประเภทละหนึ่งคน | เป็นกรรมการ |
15. ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรระดับประเทศหนึ่งคน | เป็นกรรมการ |
16.ผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีแต่งตั้งไม่เกินห้าคน | เป็นกรรมการ |
17. อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ | เป็นกรรมการและเลขานุการ |
18. ผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย | เป็นผู้ช่วยเลขานุการ |
อำนาจหน้าที่ของ คพช.
(1) อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 ดังนี้
1. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องนโยบายและแนวทางในการพัฒนาการสหกรณ์ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการสหกรณ์ ให้สอดคล้องกับระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการขยายธุรกิจและกิจการของสหกรณ์ รวมทั้งการร่วมมือกับภาคเอกชนให้มีส่วนในการพัฒนาการสหกรณ์
4. กำหนดแนวทางในการประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือภาคเอกชน เพื่อให้การส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสหกรณ์
5. พิจารณาแก้ไขปัญหาและอุปสรรคตลอดจนข้อขัดข้องที่ทำให้นโยบายและแผนการพัฒนาการสหกรณ์ไม่อาจบรรลุเป้าหมาย
6. พิจารณาเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับสหกรณ์ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
7. มีอำนาจและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(2) อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
1. เห็นชอบให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ฝากทุนกลางของบรรดาสหกรณ์ไม่จำกัดตามมาตรา 61 (2) แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 ไว้ที่ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือฝากไว้ที่สถาบันการเงินอื่น (มาตรา 8)
2. คัดเลือกผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อเสนอให้รัฐมนตรีแต่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน คพช. (มาตรา 9)
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือกระทำการใด ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติมอบหมาย (มาตรา 14)
4. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการดำเนินงานอื่นของคณะอนุกรรมการ (มาตรา 14)
5. รับทราบรายงานประจำปีแยกตามประเภทสหกรณ์ของนายทะเบียนสหกรณ์ (มาตรา 16(7))
6. พิจารณาความจำเป็นในการเข้าช่วยเหลือสหกรณ์ที่ยังไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเอง (มาตรา 23)
7. เห็นชอบระเบียบที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนดเกี่ยวกับการเข้าช่วยเหลือดำเนินกิจการสหกรณ์ (มาตรา 23)
8. เห็นชอบระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ การจัดการและการจำหน่ายทรัพย์สินของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) (มาตรา 29)
9. กำหนดหลักเกณฑ์การเลือกผู้แทนของสหกรณ์และผู้แทนกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้รัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหาร กพส. (มาตรา 30)
10. กำหนดการนำเงินของสหกรณ์ฝากหรือลงทุนอย่างอื่น (มาตรา 62 (7))
11. เห็นชอบอัตราการจ่ายเงินปันผลตามหุ้นที่ชำระแล้วที่นายทะเบียนสหกรณ์กำหนด ของสหกรณ์ที่เลิกกรณีเมื่อได้ชำระหนี้ของสหกรณ์แล้วแต่ยังมีทรัพย์สินคงเหลือ (มาตรา 86 (2))
12. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเป็นชุมนุมสหกรณ์ระดับภูมิภาคหรือระดับประเทศ (มาตรา 101)
13. มอบหมายให้สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยดำเนินการอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ (มาตรา 110 (10))
14. วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (มาตรา 117/1)
(3) อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงการดำเนินงานและการกำกับดูแลสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2564
กำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับกรรมการสหกรณ์เพื่อให้เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิด้านการเงิน การบัญชี การบริหารจัดการ เศษฐศาสตร์ หรือด้านอื่น (ข้อ 8)
คณะอนุกรรมการคณะต่าง ๆ ภายใต้ คพช.
มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรสหกรณ์ คณะอนุกรรมการการลงทุน และอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการอื่นตามความจำเป็นโดยคำนึงถึงความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อพิจารณาหรือกระทำการใด ๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติมอบหมายปัจจุบันมีคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ดังนี้
1. คณะอนุกรรมการการลงทุน(เอกสารแนบ)
2. คณะอนุกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ (เอกสารแนบ)
3. คณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรสหกรณ์ (เอกสารแนบ)
4. คณะอนุกรรมการส่งเสริม สนับสนุนการขยายธุรกิจและกิจการสหกรณ์ (เอกสารแนบ)
5. คณะอนุกรรมการพัฒนาชุมนุมสหกรณ์ให้มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเป็นชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศ (เอกสารแนบ)
6. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) (เอกสารแนบ)
7. คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาสหกรณ์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566-2570) (เอกสารแนบ)
8. คณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 – 2570)(เอกสารแนบ)
ประกาศ/หลักเกณฑ์/ข้อกำหนดของ คพช.
1. ข้อกำหนดการฝากหรือลงทุนอย่างอื่นของสหกรณ์ พ.ศ. 2563 (เอกสารแนบ)
2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเป็นชุมนุมสหกรณ์ระดับประเทศ พ.ศ. 2561 (เอกสารแนบ)
3. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
และการดำเนินงานอื่นของคณะอนุกรรมการ (เอกสารแนบ)
4. หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้แทนของสหกรณ์เป็นกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) (เอกสารแนบ)
5. หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้แทนกลุ่มเกษตรกรเป็นกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) (เอกสารแนบ)
6. แนวทางปฏิบัติการนำเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ (เอกสารแนบ)
สรุปมติประชุม คพช. ที่สำคัญ
สถานที่ติดต่อฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ
กรมส่งเสริมสหกรณ์ กองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์
กลุ่มเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ
เลขที่ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์/โทรสาร 0 - 2281 - 8100
12 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
คำถามที่พบบ่อย|ช่องทางร้องเรียน|รางวัลที่กรมได้รับ|สำรวจความพึงพอใจ|แผนผังเว็บไซต์
connect us facebook youtube ก Line Official กรมส่งเสริมสหกรณ์
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2564 โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์
Copy Right © 2021 Cooperative Promotion Department. All rights Reserved
12 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
คำถามที่พบบ่อย | ช่องทางร้องเรียน | รางวัลที่กรมได้รับ | สำรวจความพึงพอใจ | แผนผังเว็บไซต์
Line Official กรมส่งเสริมสหกรณ์
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2564 โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์
Copy Right © 2021 Cooperative Promotion Department. All rights Reserved
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์
เริ่มนับวันที่ 1 ต.ค.2561
© 2021 Cooperative Promotion Department. All rights Reserved