นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจสื่อสารองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ ผู้แทน AIS
23 กรกฎาคม 2568 นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจสื่อสารองค์กรและรัฐกิจสัมพันธ์ ผู้แทน AIS ร่วมกันทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการดำเนินโครงการการส่งเสริมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการ "คนไทยไร้ E-waste"ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด โดยมี นายสันทาน สีสา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมคณะผู้บริหาร 22 หน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงฯ ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้อง 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ในการนี้ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยถึงความร่วมมือในการดำเนินโครงการการส่งเสริมการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการ "คนไทยไร้ E-waste" ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS ในครั้งนี้ นับเป็นนโยบายทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green) และได้ให้ความสำคัญ กับการจัดการทรัพยากรทางการเกษตรที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และนโยบาย BCG Model ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจ สีเขียว (Green Economy) โดยเล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี จึงได้ร่วมมือกับบริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีและองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน จัดทำโครงการการส่งเสริมการจัดการขยะ อิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการ "คนไทยไร้ E-waste" โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบจัดการ E-Waste อย่างทั่วถึง ใน 22 หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านการตั้งจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ณ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด 76 แห่งทั่วประเทศ
สำหรับความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ AIS ในครั้งนี้ นับเป็นอีกก้าวสำคัญระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อร่วมกันสร้างสังคมไทยที่มีจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถบริหารจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของสารพิษในพื้นที่การเกษตร ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพวัตถุดิบอาหารไทย รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างการทิ้ง E-waste อย่างถูกวิธีกับความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง โครงการนี้จะเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมาย "Zero E-Waste to Landfll" อย่างเป็นรูปธรรม และสะท้อนถึงความ ร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร และสร้างสังคมที่มีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนต่อไป"