เปิดงานการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
17 กุมภาพันธ์ 2567 ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน “การแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม “Innovation for Sustainable Local Development: นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2 Soft power กับการขับคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ : วิถีถิ่นเชียงราย ศิลปะดนตรี กวี วิจัย” เพื่อนำเสนอผลงานวิจัย นวัตกรรม และสร้างการรับรู้ Soft power อัตลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดเชียงราย ภายใต้การดำเนินงานของชุมชนในพื้นที่และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “นโยบายการเพิ่มมูลค่าทางการเกษตรกับ Soft Power เพื่ออนาคตประเทศไทย” โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายคีตวุฒิ นับแสง ผู้ตรวจราชการกรม เขตตรวจราชการที่ 15 และ 16 นายนรินทร์ศักดิ์ พนิตธรรมกูล สหกรณ์จังหวัดเชียงราย นายคัมภีร์ นับแสง สหกรณ์จังหวัดพะเยา ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรผศ.ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายจังหวัดเชียงราย
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตั้งแต่ปี 2556 รวมงบประมาณกว่า 20 ล้านบาท โดยสามารถพัฒนาผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์และนำไปขยายผลให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเชียงรายกว่า 10 โครงการการพัฒนาต่อยอดกระบวนการผลิตซึ่งนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตรทำให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรสามารถให้ผลผลิตสูงมากกว่าเทคโนโลยีเดิมของเกษตรกร 20 - 30 % สามารถพัฒนากระบวนการผลิตของเกษตรกรเพื่อให้ได้รับมาตรฐานต่างๆ เช่นมาตรฐาน GAP, GMP, Q เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตรแบบเดิม 2-3 เท่า รวมถึงการพัฒนาช่องทางทางด้านการตลาดได้มากขึ้น เช่น ไร่สิงค์ปาร์ค บิ๊กซี ท็อป โลตัสร้านจำหน่ายสินค้าของฝาก เป็นต้น ซึ่งสามารถพัฒนาคุณภาพภาพชีวิตให้กับเกษตรกรเกษตรกรไม่น้อย 300 ราย ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรไม่น้อยกว่า 2,000 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย
สำหรับกิจกรรมภายในงาน ได้มีการนำเสนอนิทรรศการผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจาก สวก. ที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาการตลาดข้าวจาปอนิกาในจังหวัดเชียงราย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบไซรัปเพื่อสุขภาพจากเยื่อหุ้มเมล็ดโกโก้ การเพิ่มมูลค่าปลีกล้วยน้ำหว้าด้วยการแปรรูปเป็น เนื้อเทียมอรรถประโยชน์สูง ที่มีการดัดแปรเชิงหน้าที่โปรตีนด้วยเอนไซน์จากสัปปะรด ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผงอาซาอิด้วยนวัตกรรมเอนแคปซูเลชัน นวัตกรรมการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวเหนียวเขี้ยวงูจังหวัดเชียงรายรวมถึงการพัฒนาสแน็คจากเศษแมคาเดเมีย ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าของเสียจากกระบวนการผลิตให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ฯลฯ