ลงพื้นที่ศึกษาดูงานโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
21 กรกฎาคม 2566 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วย นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และคณะ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พร้อมด้วย นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในฐานะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และคณะ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
สำหรับโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ เกิดขึ้นจากในปี พ.ศ. 2551 - 2552 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงซื้อที่ดินบริเวณอ่างเก็บน้ำหนองเสือด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 250 ไร่ โดยมีแนวพระราชดำริเพื่อพัฒนาพื้นที่ในการจัดทำโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร และเป็นแหล่งเรียนรู้การรวบรวมพืชนานาชนิดที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ โดยเป็นการเพาะปลูกพืชเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน และส่งจำหน่ายตลาด ส่วนที่มาของชื่อโครงการเนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินประทับที่พระราชวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทรงนำมันเทศที่ชาวบ้านทูลเกล้าฯ ถวายวางบนตาชั่ง เมื่อเสด็จฯ กลับมาที่พระราชวังไกลกังวลอีกครั้ง ทรงพบว่าหัวมันเทศมีใบอ่อนงอกออกมา ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำหัวมันนั้นไปเพาะในกระถาง และทรงให้นำมาเพาะปลูกในพื้นที่นี้ด้วย พร้อมพระราชทานนาม โครงการชั่งหัวมัน ในพระราชดำริ ภายในโครงการมีแหล่งน้ำต้นทุน เช่น อ่างเก็บน้ำหนองเสือ ระบบส่งน้ำบ่อบาดาล เพื่อนำมาใช้ในการเกษตร กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม และแผงโซล่าร์เซลล์ การปลูกพืชผักสวนครัวและผลไม้ เช่น นาข้าวไรซ์เบอรี่ แปลงเกษตรผสมผสาน แปลงมะนาว แปลงสับปะรดปัตตาเวีย มะพร้าวน้ำหอม ชมพู่เพชรสายรุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้ มีบริการรถจักรยานสำหรับขี่ชมทัศนียภาพ และรถไฟฟ้านำชมในพื้นที่อีกด้วย