อธิบดี ให้สัมภาษณ์ประเด็น"สหกรณ์ออมทรัพย์ในทศวรรษหน้า"
10 กรกฎาคม 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ดร.ทรงศักดิ์ ศิริรัตน์ ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำกัด และคณะ ในโอกาสขอเข้าบันทึกเทปบรรยายสรุป "สหกรณ์ออมทรัพย์ในทศวรรษหน้า" เพื่อนำไปเผยแพร่ให้ความรู้ในงานสัมมนาสหกรณ์ออมทรัพย์เครือข่ายแจ้งวัฒนะ ณ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้การต้อนรับ ดร.ทรงศักดิ์ ศิริรัตน์ ประธานกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำกัด และคณะ ในโอกาสขอเข้าบันทึกเทปบรรยายสรุป "สหกรณ์ออมทรัพย์ในทศวรรษหน้า" เพื่อนำไปเผยแพร่ให้ความรู้ในงานสัมมนาสหกรณ์ออมทรัพย์เครือข่ายแจ้งวัฒนะ ณ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร
โอกาสนี้ อธิบดีฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 9 ปี ของการรวมเป็นเครือข่ายสหกรณ์ออมทรัพย์เครือข่ายแจ้งวัฒนะ พร้อมกล่าวว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทยเป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ ปัจจุบันสหกรณ์ออมทรัพย์มีสินทรัพย์ในภาพรวมมากถึง 3.5 ล้านล้านบาท ถือว่าเป็นสถาบันการเงินใหญ่เป็นลำดับ 3 ของประเทศ รองจากธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก มีสิทธิเท่าเทียมกัน ซึ่งองค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล หรือ ICA ได้กล่าวถึงสหกรณ์จะต้องเกิดความยั่งยืนในการพัฒนา และมีส่วนร่วมในการพัฒนา แก้ไขปัญหาของมนุษยชาติ โดยเฉพาะในด้านการขจัดความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
ในอนาคตการออมเงินของสมาชิกถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของสหกรณ์ออมทรัพย์ และจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการป้องกันความเสี่ยง สหกรณ์จะต้องจัดสรรกำไรไว้เป็นทุนสำรองในสหกรณ์ และการให้สินเชื่อที่ดี เหมาะสม มีคุณธรรมต่อสมาชิกทุกรายโดยไม่มุ่งหวังหรือแสวงหากำไรจากสมาชิก มีการติดตามกำกับดูแลการใช้เงินของสมาชิกให้เกิดรายได้ รวมไปถึงด้านเงินทุนของสหกรณ์ที่มาจากเงินรับฝาก และทุนเรือนหุ้นที่สมาชิกสะสม ทำให้หลายสหกรณ์มีเงินทุนมากกว่าความต้องการของสมาชิก และสหกรณ์นำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือลงทุนการตลาดภายนอก คณะกรรมการสหกรณ์จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย รวมทั้งความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ในการที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการ วิธีการ อุดมการณ์ของสหกรณ์ นอกจากการช่วยเหลือกันในมวลหมู่สมาชิกแล้ว สหกรณ์จะต้องร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วย โดยเฉพาะองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จะต้องถ่ายทอด หารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งกรมฯ สนับสนุนทุกสหกรณ์ที่ได้รวมกันเป็นเครือข่าย ช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามแนวทางที่สำคัญของสหกรณ์ในประเทศไทย และสหกรณ์เป็นของสมาชิกทุกคน คณะกรรมการซึ่งได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนสมาชิก จะต้องดูแลสมาชิกในทุก ๆ ด้าน ร่วมกันสร้างความสุข สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สมาชิกต่อไป
ทั้งนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำกัด เป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนาสหกรณ์ออมทรัพย์เครือข่ายแจ้งวัฒนะ ในปี พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการช่วยเหลือกันและกันทางด้านวิชาการ การเงินสังคม และเทคโนโลยีร่วมกัน จัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ วิธีการ ประสบการณ์ในการบริหารสหกรณ์ เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของสมาชิกเครือข่าย รวมถึงฝ่ายจัดการของเครือข่ายสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นจะได้มีการแลกเปลี่ยน
วิธีการ ประสบการณ์ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการทำงานรวมถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันด้วย