รมว.กษ เป็นประธานจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ตลาดนำการผลิต
27 มิถุนายน 2566 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการจัดกิจกรรม “การส่งเสริมการซื้อขายสินค้าเกษตร ตลาดนำการผลิต” โดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้บริหารทุกหน่วยงานในสังกัด และภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการจัดกิจกรรม “การส่งเสริมการซื้อขายสินค้าเกษตร ตลาดนำการผลิต” โดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้บริหารทุกหน่วยงานในสังกัด และภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร
การจัดงานดังกล่าว เป็นการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ ตามนโยบายตลาดนำการผลิต โดยมุ่งเน้นการขยายตลาดสินค้าเกษตรไปสู่ตลาดต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น กิจกรรมภายในงาน มีการจัดแสดงสินค้าที่มีศักยภาพที่สามารถส่งออกไปตลาดต่างประเทศได้ โดยกรมประมงได้นำสินค้าจากภาคเอกชนของไทยมาจัดแสดงและเลือกชิม ได้แก่ ปลาสวยงาม (ปลากัด) กุ้งก้ามกรามเผา กุ้งก้ามกรามสด ปลากะพงขาวสดขนาดต่าง ๆ ทั้งปลายักษ์และปลาจาน เมนูจากผลิตภัณฑ์ปลานิลแล่แช่แข็ง กุ้งขาวต้ม สินค้าจากเนื้อจระเข้ ทั้งจระเข้ย่างจิ้มแจ่ว จระเข้ปิ้งย่าง และซุปจระเข้ตุ๋นยาจีน ตัวอย่างเนื้อแช่แข็ง เนื้ออบแห้ง+สมุนไพรจีน เลือดจระเข้แคปซูล และกระดูกจระเข้สกัดแคปซูล ด้านกรมปศุสัตว์ ได้นำสินค้าที่มีศักยภาพมาจัดแสดง ได้แก่ รังนก (ขาว) น้ำผึ้ง ชิ้นส่วนเป็ดและเครื่องในเป็ด เนื้อโคขุนคุณภาพสูง สินค้าไก่ รวมถึงนมอัดเม็ดรสทุเรียน และทุเรียนอัดเม็ด ของสหกรณ์โคนมห้วยสัตว์ใหญ่ นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำผลไม้ที่มีศักยภาพที่ต้องการขยายตลาด ได้แก่ ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย มังคุด มะพร้าวน้ำหอม เงาะพันธุ์โรงเรียน ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ลำไยพันธุ์อีดอ กล้วยหอมทอง ชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ ฝรั่งพันธุ์กิมจู อินทผลัม สละพันธุ์เนินวง พันธุ์สุมาลี และเสาวรส พันธุ์ไทนุง
กิจกรรมในวันนี้เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่เป็นการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างภาคเอกชนไทย - จีน เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่สินค้าเกษตรล้นตลาด ราคาตกต่ำ และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับทั้งสองประเทศ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด คือ จะเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรให้มีตลาดที่แน่นอน ผลิตสินค้าได้ตรงตามความต้องการของตลาดสร้างเงิน เพิ่มรายได้และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย