บรรยายเรื่อง “แนวทางการนำเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไปสู่การปฏิบัติร่วมกันตามยุทธศาสตร์ชาติในช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570)
27 มิถุนายน 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ บรรยายเรื่อง “แนวทางการนำเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไปสู่การปฏิบัติร่วมกันตามยุทธศาสตร์ชาติในช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยมี นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ คณะผู้บริหารกรมฯ รับฟังการบรรยาย
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ บรรยายเรื่อง “แนวทางการนำเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไปสู่การปฏิบัติร่วมกันตามยุทธศาสตร์ชาติในช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) โดยมี นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ คณะผู้บริหารกรมฯ รับฟังการบรรยาย ในการนี้ นางสาวกรนภา ชัยวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสหกรณ์ นางสาวณัฐวรรณ พุทธเจริญ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กองแผนงาน และผู้แทนกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ร่วมบรรยายในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม 126 กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร พร้อมถ่ายทอดสัญญาณไปยังหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคด้วย
โอกาสนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้กล่าวถึงที่มาของการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เป้าหมายในการประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในช่วงที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งการขับเคลื่อนงานนั้น เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานกรมส่งเสริมสหกรณ์ในการส่งเสริม พัฒนา และแก้ไขปัญหาของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เจาะลึกสิ่งในที่ได้เตรียมการกันมาแล้วว่าจะมีแนวทางขับเคลื่อนในทิศทางไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเกณฑ์การส่งเสริม มาตรฐานสหกรณ์ และชั้นของสหกรณ์ ซึ่งเป้าหมายของทั้ง 2 กรมที่เหมือนกัน คือ สถาบันเกษตรกรที่ได้ไปแนะนำ กำกับ ดูแล และส่งเสริมนั้น มีผลการดำเนินงาน และสมาชิกสหกรณ์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ มีเป้าหมาย คือ สหกรณ์เข้มแข็งและเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ คือ ตรวจสอบบัญชีและส่งเสริมการจัดทำบัญชี เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ความโปร่งใสของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สิ่งที่สำคัญ คือ ต้องขับเคลื่อนให้องค์กรเกิดความเข้มแข็ง ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อที่จะตอบโจทย์ให้เกิดมิติของความเข้มแข็งได้ ซึ่งที่กล่าวมานั้น จะต้องร่วมมือกันระหว่างกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และสถาบันเกษตรกร มีการติดตามอย่างใกล้ชิด ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย เน้นทั้งสหกรณ์ในภาคการเกษตรและสหกรณ์นอกภาคการเกษตร พัฒนาให้เกิดผลสำเร็จ ร่วมกันขับเคลื่อน ทั้ง 4 มิติ ซึ่งกรมฯ รับผิดชอบใน 2 มิติที่ต้องขับเคลื่อนให้เห็นผลในเชิงประจักษ์ ได้แก่ มิติที่ 1 ความสามารถในการให้บริการสมาชิก ที่มุ่งเน้นการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ให้บริการแก่สมาชิกในด้านต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสริมสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้เข้าถึงทุกช่วงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างคุณค่าการสหกรณ์ให้เข้มแข็งในระดับฐานราก ในด้านมิติที่ 4 ประสิทธิภาพของการบริหารงาน มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะในการบริหารงานและธุรกิจของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ซึ่งพิจารณาจากการดำเนินกิจการตามระเบียบ คำสั่งนายทะเบียน และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระบบธรรมาภิบาลในการดำเนินกิจการไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในองค์กร