อธิบดีฯ เยือน JA Namegata-shiosai ประเทศญี่ปุ่น
22 มิถุนายน 2566 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายอาทิตย์ สุกเหลือ ผู้อำนวยการกองแผนงาน นายสันทาน สีสา ผู้อำนวยกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร นายสกนธ์ วนาเศรษฐี ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายอาทิตย์ สุกเหลือ ผู้อำนวยการกองแผนงาน นายสันทาน สีสา ผู้อำนวยกองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตรและกลุ่มเกษตรกร นายสกนธ์ วนาเศรษฐี ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และคณะ เดินทางไปเยือน JA Namegata-shiosai พร้อมทั้งได้เยี่ยมชมแปลงสมาชิกสหกรณ์ ณ จังหวัดอิราบากิ ประเทศญี่ปุ่น โดยมี คณะผู้บริหารของ JA Namegata-shiosai ให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ อธิบดีฯ ได้กล่าวขอบคุณคณะผู้บริหารของสหกรณ์การเกษตร Namegata-shiosai (JA Namegata-shiosai) ที่ได้ให้โอกาสมาเยือนในครั้งนี้ พร้อมกล่าวว่า สหกรณ์การเกษตรในประเทศญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาไปอย่างมาก สามารถพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรสมาชิกให้มีความสุข มีความอยู่ดีกินดีตามอุดมการณ์สหกรณ์ เป็นรูปแบบที่ประสบความสำเร็จที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง กรมส่งเสริมสหกรณ์ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาสหกรณ์ในประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมสหกรณ์ในหลายด้าน ซึ่งแนวทางการพัฒนาสหกรณ์ของประเทศญี่ปุ่นถือเป็นแนวทางหนึ่งที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้นำมาปรับใช้ในการส่งเสริมสหกรณ์เช่นกัน ซึ่งในวันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ JA Namegata-shiosai ในอนาคตกรมส่งเสริมสหกรณ์หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือระหว่างขบวนการ สหกรณ์การเกษตรไทยกับญี่ปุ่นจะมีความใกล้ชิดแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อความร่วมมือระหว่างสหกรณ์การเกษตรของทั้งสองประเทศต่อไป
สหกรณ์การเกษตร Namegata-shiosai ได้ดำเนินยุทธศาสตร์มันเผาและการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูท้องถิ่น เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่มีความดึงดูดโดยใช้มันหวานเป็นศูนย์กลาง มีหลักการในการบริหารจัดการ คือ เป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อสมาชิกสหกรณ์และผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ เจ้าหน้าที่และที่ทำงานที่ส่งเสริมการพยายามทำสิ่งใหม่ ๆ เป็นการทำงานเพื่อเพิ่มรายได้ของเกษตรกร สหกรณ์ มีพืชเด่น คือ มันหวาน มีการส่งเสริมการปลูก แล้วรวบรวมส่งทั้งในประเทศ รวมทั้งต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ แคนาดา และมีแผนการส่งออกโดยบรรจุกล่องในกล่องการส่งออก ปัจจุบันมันมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและกลายเป็นสินค้าสำคัญของสหกรณ์ นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการปรับปรุงขบวนการสหกรณ์เพื่อสร้างท้องถิ่นและชีวิตความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ โดยสอนเกี่ยวกับการบริโภคอาหารให้แก่คนรุ่นใหม่และกิจกรรมแลกเปลี่ยน รวมไปถึงการดำเนินการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แหล่งผลิต สามารถผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยและไว้ใจได้ ยุทธศาสตร์การสร้างแบรนด์ Namegata รวมกลุ่มผู้ผลิตที่มีวิธีการผลิตและจำหน่ายที่ชัดเจน เน้นความอร่อย เสนอมาตรฐานส่งจำหน่ายใหม่ ๆ และการกระตุ้นการจำหน่ายแยกตามวัตถุประสงค์ มีการดำเนินการที่รวดเร็ว ยืดหยุ่นเพื่อสนองต่อแนวโน้มการบริโภคและการเปลี่ยนแปลงของตลาด ปรับตามความต้องการของผู้ใช้และผู้บริโภค รวมทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาสินค้าที่เสนอโดยแหล่งผลิต ซึ่งเป็นที่แรกที่สร้างความแตกต่างโดการตั้งชื่อและดีไซน์ ใช้วิธีการบรรจุแตงกวาในกล่องแนวราบเพื่อลดภาระเกษตรกรและเพิ่มรายได้ด้วย