ตรวจเยี่ยมกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ปทุมราชวงศา
23 มีนาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสุริยัน ทองธรรมชาติ สหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ นายสวน เพ่งพิศ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปทุมราชวงศา ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายสุริยัน ทองธรรมชาติ สหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ นายสวน เพ่งพิศ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 3 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปทุมราชวงศา ตำบลนาป่าแซง อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีผลงานเด่นต้นแบบการนำเสนอขอรับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2566 ประเภทร่วมใจแก้จน(Collaboration towards Poverty Eradication) ชื่อผลงาน “เลี้ยงวัวแก้หนี้ แก้จน คนปทุมราชวงศา” พร้อมให้คำแนะนำในการดำเนินงาน โดยมี นายพนัส พันธุ์วรรณ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ประธานกรรมการกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปทุมวงศาราช คณะกรรมการดำเนินงาน สมาชิกกลุ่มฯ ให้การต้อนรับ
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ ได้มีกํากับแนะนําให้มีการสร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว โดยให้มีการรวมกลุ่มย่อยในพื้นที่ใกล้เคียงกันเพื่อช่วยกันดูแลให้คําแนะนําการเลี้ยง นอกจากนี้ ยังได้มีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนเงินทุน ปศุสัตว์ที่ให้คําแนะนําการเลี้ยงวัวให้ได้มาตรฐานอีกทั้ง สํานักงานสหกรณ์จังหวัดอํานาจเจริญ ได้กํากับ แนะนําส่งเสริมการดําเนินงานของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปทุมราชวงศา และการดําเนินธุรกิจ โดยประสานความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอํานาจเจริญ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่สมาชิกกลุ่มเกษตรกรในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่เกษตรกรไม่เคยทํามาก่อน เช่น ลูกชิ้นเนื้อ ไ้ส้กรอก ไส้อั่ว สเต็กเนื้อ เนื้อสวรรค์ เพื่อให้มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และเปิดร้านจําหน่ายผลิตภัณฑ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยฯ
กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปทุมราชวงศา มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นสถาบันเกษตรกร สมาชิกของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปทุมราชวงศา มีการเลี้ยงวัวเพื่อขายให้พ่อค้า หรือส่งตลาดนัดโค-กระบือในท้องถิ่น มีกําหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาราคาวัว โดยปรับปรุง สายพันธุ์เป็นวัวพันธุ์เนื้อ และนําลูกวัวตัวผู้เข้าขุนระยะเวลาในการเลี้ยงไม่เกิน 6 เดือน ต้องได้น้ําหนักระหว่าง 300 – 500 กก. แล้วส่งชําแหละ ซึ่งการสร้างตลาดวัวนั้น จะทําให้เกษตรกรขายวัวได้ในราคาที่เป็นธรรม คือ ขายตามน้ําหนัก ไม่ขาดทุน มีรายได้สูงขึ้นอย่างมั่นคง สามารถชําระหนี้ได้ตามสัญญา และลดหนี้ค้างเดิมได้ในอนาคต เช่น วัวสีขาว น้ําหนักประมาณ 300 กก. ขายเหมาตัวจะได้ราคาตัวละประมาณ 26,000.- บาท ขายตามน้ําหนักและคุณภาพ ราคา กก.ละ 100 จะได้มูลค่า 30,000.- บาท ทําให้สมาชิกมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4,000.- บาท/ตัว