ประชุมชี้แจงโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิก
17 มีนาคม 2566 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมชี้แจงโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ โดยมี นายบรรจง ชัยขุนพล ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์ นางกัญจนา ภัทรวนาคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการสหกรณ์ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังการประชุมชี้แจง ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมชี้แจงโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ โดยมี นายบรรจง ชัยขุนพล ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบสนับสนุนการสหกรณ์ นางกัญจนา ภัทรวนาคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการสหกรณ์ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับฟังการประชุมชี้แจง ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร
โอกาสนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้บรรยายพิเศษ และชี้แจงเกี่ยวกับโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ว่า เป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ควรมีการฟื้นฟูและพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร แก้ไขปัญหาหนี้สินสมาชิกและสหกรณ์ ให้สามารถปิดบัญชีได้ พัฒนาการดำเนินธุรกิจให้มีกำไรและขาดทุนน้อยลง ส่งเสริมอาชีพสมาชิกและบูรณาการกับหน่วยงานอื่น เข้าตรวจเยี่ยมและร่วมประชุมกับสหกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ลดดอกเบี้ยค้าง ค่าปรับ ไม่ผิดนัดชำระ พัฒนาอาชีพสมาชิกสหกรณ์ ดูในเรื่องการประกอบธุรกิจของสหกรณ์ ใช้ระบบสหกรณ์เข้าไปรวมซื้อรวมขาย มีการติดตามประเมินผลลูกหนี้รายคน การสร้างอาชีพ การแก้ไขระเบียบข้อบังคับ การจัดทำแผนป้องกัน การจัดทำฐานข้อมูล การจัดทำแผนจัดการหนี้ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะธุรกิจสินเชื่อ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของสหกรณ์ รวมทั้งวางแผนการปรับโครงสร้างการแก้ไขปัญหาหนี้กับสหกรณ์ให้สอดคล้องกับฐานข้อมูลจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
โดยรองอธิบดีฯ ได้เน้นย้ำว่า จะต้องมีการจัดเก็บฐานข้อมูลลูกหนี้อย่างเป็นระบบ และวางแผนการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างของสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรอย่างชัดเจน เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปมีส่วนร่วมกับสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งด้านตัวชี้วัด และผลสัมฤทธิ์ ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา อาศัยความร่วมมือจากคณะกรรมการสหกรณ์ ซึ่งโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรด้วยระบบสหกรณ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีเป้าหมาย 1,100 แห่ง มูลค่าหนี้ลดลงร้อยละ 10 และโครงการแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระของสหกรณ์ ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เป้าหมาย 590 แห่ง ซึ่งทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนทั้งสหกรณ์ภาคการเกษตรและสหกรณ์เครดิตยูเนียน โดยมีกองทุนพัฒนาสหกรณ์เป็นตัวช่วยให้การสนับสนุน เพื่อให้สมาชิกมีความกินดีอยู่ดี และนำเงินส่วนนี้ไปประกอบอาชีพสร้างรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป