เปิดโครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) ผ่านระบบประชุมทางไกล (ZOOM)
26 กรกฎาคม 2565 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) ผ่านระบบประชุมทางไกล (ZOOM) โดยมี นายสุรินทร์ วทัญญู ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) ผ่านระบบประชุมทางไกล (ZOOM) โดยมี นายสุรินทร์ วทัญญู ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้อำนวยการกลุ่ม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 501 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร โดยมี นายศุภวัชร์ มาลานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับบุคลากรของกรมส่งเสริมสหกรณ์ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
สำหรับโครงการอบรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรวบรวม การจัดเก็บข้อมูลและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้ถ่องแท้ สามารถดำเนินงานและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act : PDPA) ที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง
โดยกฎหมาย PDPA แบ่งเป็น 3 ส่วน 1.ความมั่นคงปลอดภัย 2.ความเป็นธรรม 3.ความโปร่งใส โดยกฎหมาย PDPA ไม่ใช้บังคับกับข้อมูลส่วนตัวหรือกิจกรรมในครอบครัวของแต่ละบุคคล และวงจรชีวิตข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีการเก็บข้อมูล การใช้ และเปิดเผยข้อมูลไปยังบุคคล/องค์กรภายนอก และการทำลายข้อมูลเมื่อใช้ข้อมูลจนไม่มีความจำเป็นหรือสิ้นสุดระยะเวลาจัดเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้ว โดยที่องค์กรสามารถดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่ต้องขออนุญาติข้อมูลส่วนบุคคล ถ้าหากเกิดการว่าจ้างในการทำงาน ต้องผ่านการควบคุมข้อมูลซึ่งเป็นการควบคุมข้อมูลตามเงื่อนไขของกฎหมาย โดยสามารถเปิดเผยข้อมูลได้แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องสามารถพิสูจน์การได้มาซึ่งความยินยอม ทำเป็นหนังสือหรือทำโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความเป็นอิสระ (ให้ทางเลือก) เฉพาะเจาะจงและแจ้งวัตถุประสงค์ ปฏิบัติตามเงื่อนไขของความยินยอมอื่น ๆ