ลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงเกษตรผสมผสาน ของนายดิลก ชมพูมิ่ง เกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร
6 พฤษภาคม 2565 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายเฉลิมพล ชัยศิลบุญ สหกรณ์จังหวัดแพร่ และคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงเกษตรผสมผสาน ของนายดิลก ชมพูมิ่ง เกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร พร้อมทั้งให้คำแนะนำการทำเกษตรแบบผสมผสาน การบริหารจัดการพื้นที่ และจัดการผลผลิตภายในสวน ณ บ้านแม่คำมี อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นายเฉลิมพล ชัยศิลบุญ สหกรณ์จังหวัดแพร่ และคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงเกษตรผสมผสาน ของนายดิลก ชมพูมิ่ง เกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร พร้อมทั้งให้คำแนะนำการทำเกษตรแบบผสมผสาน การบริหารจัดการพื้นที่ และจัดการผลผลิตภายในสวน ณ บ้านแม่คำมี อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
นายดิลก ชมพูมิ่ง อายุ 31 ปี กล่าวว่า เดิมตนเองเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ช่วงปลายปี 2561 ตัดสินใจลาออกกลับมาอยู่บ้านกับแม่ และตนเองจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านเกษตร จึงเลือกที่จะทำเกษตรผสมผสาน บนพื้นที่ 4 ไร่ 2 งาน ปลูกทุเรียนมูซังคิง (ทุเรียนมาเลเซีย) 147 ต้น ซึ่งราคาตลาดสูง ทนต่อโรค และอากาศหนาว ปลูกไผ่กิมซุง 110 ต้น ผักหวานป่า ไม้ผล อื่น ๆ เช่น กล้วย น้อยหน่า มะม่วง ชมพู่ และพืชผักสวนครัว โดยนำระบบโซล่าเซลล์มาใช้ในการวางระบบภายในสวน ซึ่งตนเองได้ตั้งเป้าหมายวางแผนการผลิตภายในสวน เพื่อให้มีเงินหมุนเวียน และสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวตลอดทั้งปี และสามารถสร้างรายได้ตั้งแต่ 3 เดือนแรก ซึ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายผักสวนครัว ประมาณ 1 - 2 พันบาท/เดือน ใน 1 ปีแรก มีรายได้จากการจำหน่ายกล้วย และพืชผักสวนครัว 2 - 3 พันบาท/เดือน ช่วง 1 ปีครึ่ง - 4 ปี มีรายได้จากการขายหน่อไม้ กล้วย และพืชผักสวนครัว 7 - 9 พันบาท/เดือน ปัจจุบันทำเกษตรผสมผสานมาแล้ว 4 ปี คาดว่าถ้าทุเรียนให้ผลผลิต จะมีรายได้จากการจำหน่ายทุเรียน และหน่อไม้ประมาณ 30,000 - 70,000 บาท/เดือน ด้านการตลาด ตนเองนำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดชุมชนอำเภอหนองม่วงไข่ และมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงที่สวน บางส่วนจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย ซึ่งจากที่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านฯ ตนเองมีเครือข่ายลูกหลานเกษตรกรมากขึ้น ได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านเกษตรและเทคโนโลยีซึ่งกันและกัน สามารถนำความรู้ที่ได้มาบริหารจัดการภายในสวนได้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองด้วย
ทั้งนี้ ปีงบประมาณ 2565 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่ ได้ดำเนินโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร มีเกษตรกรรุ่นใหม่สมัครเข้าร่วม จำนวน 38 ราย ซึ่งสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีองค์ความรู้ด้านการผลิต สามารถสร้างอาชีพการเกษตรอย่างยั่งยืน เกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพ มีเครือข่ายด้านอาชีพเพิ่มมากขึ้น เกิดการช่วยเหลือชึ่งกันและกัน ทั้งนี้ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่มีการติดตามผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และขยายผลไปสู่เกษตรกรรุ่นใหม่ต่อไป