การใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom)
8 มีนาคม 2565 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom)
นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ครั้งที่ 2/2565 ผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom) ณ ห้องประชุมกองพัฒนาระบบสนับสนุนสหกรณ์ 2 ชั้น 1 อาคาร 3 กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ
โดยการประชุมในครั้งนี้มีเรื่องเพื่อทราบเกี่ยวกับสถานการณ์การนำเข้าและส่งออกปุ๋ยเคมีของไทย โดยการนำเข้าในปี 2564 มีปริมาณปุ๋ยเคมีทั้งหมด 5,520,883 ตัน คิดเป็นมูลค่า 70,103 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.39 เเละมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.27 เมื่อเทียบกับปี 2563 โดยปุ๋ยส่วนใหญ่ที่นำเข้า คือ ปุ๋ยยูเรีย และในปี 2565 ในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานั้น มีปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมีทั้งหมด 431,733 ตัน คิดเป็นมูลค่า 10,827 ล้านบาท โดยการส่งออก ในปี 2564 มีการส่งออกทั้งสิ้น 707,657 ตัน และในปี 2565 ในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ มีปริมาณจำนวนส่งออก ทั้งสิ้น 46,556 ตัน โดยราคาปุ๋ยเคมีในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้นตามราคาแม่ปุ๋ยในตลาดโลก เมื่อจำแนกตามประเภท พบว่า ปุ๋ยยูเรีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.88 ไดแอมโนเนียมฟอสเฟต เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.55 และโพเทสเซียมคลอไรต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.75 พร้อมรวมถึงเรื่องเพื่อพิจารณาโครงสร้างต้นทุนอาหารสัตว์ที่สำคัญ และแนวทางการลดต้นทุกอาหารสัตว์ โดยที่ทางกรมปศุสัตว์ได้นำเสนอผลการศึกษาสูตรอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสูตรคำนวณต้นทุนอาหารสัตว์ พร้อมทั้งประเมินราคอาหารสัตว์ให้ที่ประชุมรับทราบมาแล้วนั้น โดยมีวัตถุดิบที่มาทดแทนได้ คือ ข้าว (ปลายข้าวและข้าวกล้อง) สามารถลดต้นทุนอาหารสัตว์ได้ร้อยละ 10-20 และมีแหล่งโปรตีน (ถั่วเหลือง) วัตถุดิบที่มาทดแทนได้ เช่น กากปาล์มและกากฝ้าย ซึ่งเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีโปรตีนสูง และสามารถนำมาผลิตอาหารสัตว์ได้ เช่น สุกร ซึ่งได้นำเสนอสูตรอาหารสัตว์ทั่วไปเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยให้เกษตรกรสามารถผลิตสูตรอาหารสัตว์ และใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดอื่นอดแทน และการปรับสูตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างรูปธรรม