ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตร ครั้งที่ 1/2565
2 มีนาคม 2565 นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตร ครั้งที่ 1/2565 พร้อมนายปรีชา พันธุ์วา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์
นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตร ครั้งที่ 1/2565 พร้อมนายปรีชา พันธุ์วา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) ณ ห้องประชุมชั้น 6 กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ
โดยการประชุมในวันนี้ มีเรื่องเพื่อพิจารณาเรื่องการส่งเสริมสินค้าเกษตรทางเลือกเพื่อสร้างรายได้ใหม่กับเกษตรกร โดยปัจจุบันสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกที่ดำเนินการปลูกสมุนไพร จำนวน 24 จังหวัด 45 แห่ง ซึ่งมีสมาชิกผู้ปลูกทั้งหมด 1,867 ราย พืชที่ปลูกจำนวน 2,408 ไร่ ชนิดสมุนไพรที่ปลูกได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน ข่า พริกไทย หมาก พลู กระชายดำ เป็นต้น โดยมีการแบ่งกลุ่มสหกรณ์และเกษตรกรที่จำหน่ายสมุนไพรออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์และเกษตรที่รวบรวมผลผลิต จำนวน 10 จังหวัด 13 แห่ง โดยจำหน่ายให้กับพ่อค้าทั่วไปหรือบริษัทเอกชน และสมาชิกสหกรณ์และเกษตรที่จำหน่ายเอง มีจำนวน 16 จังหวัด 32 แห่ง โดยจำหน่ายให้กับหน่วยงานราชการ ตลาดออนไลน์ และตลาดทั่วไป เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มการปลูกสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจ เพื่อวางแผนการผลิตร่วมกัน และส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรว่างแผนการผลิตและการรวบรวมผลผลิตของสมาชิกให้มากขึ้นโดยใช้หลักการ ตลาดนำการผลิต โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มุ่งเน้นในการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตสมุนไพรที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน GAP เป็นการสร้างองค์ความรู้และการลดต้นทุนการผลิตพืชสมุนไพร เพื่อสร้างเครือข่ายการจำหน่ายทั้งระบบออฟไลน์และออนไลน์ต่อไป
ซึ่งรวมไปถึง “กัญชง” กัญชงเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ เเละกรมวิชาการเกษตร บริษัทเอกชน เเละสหกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการในระยะแรกนำร่องในเดือน มกราคม-ธันวาคม 2564 จำนวน 6 สหกรณ์ จำนวน 20 ไร่ ในจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งในระยะเเรกจะต้องนำร่องในสหกรณ์ที่เหมาะสม เเละจะมีการขยายผลไปยังสหกรณ์อื่น ๆ ที่มีความพร้อม โดยที่กรมส่งเสริมสหกรณ์เห็นว่ากัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้กับเกษตรกร เเละมีโอกาสต่อยอดการพัฒนาธุรกิจได้ พร้อมกับส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีรายได้และอาชีพที่มั่นคงให้กับสมาชิกสหกรณ์ เเละกลุ่มเกษตรกรต่อไป