บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็น “เกษตรแปลงใหญ่ ปฏิรูปเกษตรกรรมไทยสู่ความยั่งยืน”
18 สิงหาคม 2564 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็น “เกษตรแปลงใหญ่ ปฏิรูปเกษตรกรรมไทยสู่ความยั่งยืน” ณ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ ซึ่งการบันทึกเทปในครั้งนี้จะเผยแพร่ในรายการ ฐาน Talk เวลา 11.00 - 11.50 น. ทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี หมายเลข 22
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็น “เกษตรแปลงใหญ่ ปฏิรูปเกษตรกรรมไทยสู่ความยั่งยืน” ณ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ ซึ่งการบันทึกเทปในครั้งนี้จะเผยแพร่ในรายการ ฐาน Talk เวลา 11.00 - 11.50 น. ทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี หมายเลข 22
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ภายใต้แนวทางการตลาดนำการผลิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแปลงใหญ่ที่ดำเนินการในระบบสหกรณ์ มีจำนวน 600 แปลง สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 59,454 ราย พื้นที่ 740,846 ไร่ ดำเนินการใน 73 จังหวัด เป็นพืชเศรษฐกิจและสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว ผลไม้ นม สินค้าประมง เป็นต้น โดยมีการบริหารจัดการผลผลิตตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงาน ได้แก่ การส่งเสริมด้านการบริหารจัดการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการรวมกลุ่ม ด้านการผลิต ด้านการจำหน่าย บริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลร่วมกัน โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้สนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องจักรกลการเกษตรให้กับสหกรณ์ที่เข้าร่วมแปลงใหญ่ เพื่อลดต้นทุน พัฒนาคุณภาพ และเพิ่มผลผลิต เพิ่มอำนาจการต่อรองให้แก่เกษตรกร ทำให้สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของแปลงใหญ่ในระบบสหกรณ์สามารถลดต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 1,075 บาท/ไร่ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และการส่งเสริมด้านการตลาด สนับสนุนให้สหกรณ์เป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่แปลงใหญ่ เชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิตแปลงใหญ่และผู้รับซื้อ เพื่อให้มีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน มีช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิตแปลงใหญ่และผู้รับซื้อ โดยใช้กลไกสหกรณ์มาดำเนินการรวบรวมผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงตลาดกับภาคเอกชนและภาครัฐ เช่น บริษัทเอกชน ตลาดโมเดิร์นเทรด เช่น แม็คโคร โลตัส บิ๊กซี เซ็นทรัล ภาครัฐ เช่น โรงพยาบาล รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสหกรณ์ ซึ่งการตกลงซื้อขายอาจมีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือสัญญาอื่นๆ ทำให้เกษตรกรมีตลาดรองรับผลผลิตที่แน่นอน ขายได้ในราคาที่เป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสินค้าผ่านตลาดออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ ช้อปปี้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าแปรรูป เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ผลไม้ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรแปลงใหญ่มากขึ้นด้วย
สำหรับแนวทางการดำเนินงานในปีต่อไป กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กำหนดแนวทางในการพัฒนา โดยเน้นการวางแผนการตลาดควบคู่กับการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนต่อไป
{gallery}18aug2564_1{/gallery}