เปิดโครงการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ ของสถาบันเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี
14 มิถุนายน 2564 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เปิดโครงการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ ของสถาบันเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วย นายวิวัตห์ชัย พันธุ์วา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายพจน์ภิรัชต์ เนียมจุ้ย รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ นายสมศักดิ์ กรีธาธร ผู้ตรวจราชการกรม เขตตรวจราชการที่ 3,4 และคณะ
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เปิดโครงการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ ของสถาบันเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วย นายวิวัตห์ชัย พันธุ์วา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายพจน์ภิรัชต์ เนียมจุ้ย รองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ นายสมศักดิ์ กรีธาธร ผู้ตรวจราชการกรม เขตตรวจราชการที่ 3,4 และคณะ โดยมี ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายพิชัย ปานแก้ว สหกรณ์จังหวัดกาญจนบุรี นายศิวโรฒ จิตนิยม ประธานกลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่าย ผู้แทนกลุ่มผู้เลี้ยงโค หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนชาวนา กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่าย หมู่ที่ 6 ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ได้มอบสิ่งของและเวชภัณฑ์ ยาฆ่าแมลง จำนวน 20 ชุด ให้แก่กลุ่มเกษตรกรทำนาหนองสาหร่าย และเยี่ยมชมการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ซึ่งสถานการณ์การระบาดของโรค“ลัมปี สกิน”ในโคและกระบือของอำเภอพนมทวน ปัจจุบันมีโคป่วย ทั้งหมด 234 ตัว และหายป่วยแล้ว 1 ตัว คงเหลือป่วยอยู่ 233 ตัว
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โรคลัมปี สกิน ในโค กระบือ ถือเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน พบการระบาดจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ลัมปี สกิน เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโคและกระบือ อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เร่งหาแนวทางให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ และเชื่อมั่นว่าสามารถควบคุมสถานการณ์ของโรคดังกล่าวได้อย่างไรก็ตาม ได้เน้นย้ำสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรี ให้ทำการเฝ้าระวัง พร้อมทั้งให้ความรู้สร้างความเข้าใจในการป้องกันการแพร่ระบาด การพ่นยากำจัดแมลงดูดเลือด ซึ่งถือเป็นพาหะภายในฟาร์ม และการรักษาบรรเทาอาการให้กับสัตว์ที่ติดเชื้อในเบื้องต้นแก่เกษตรกรที่เลี้ยงโคและกระบือ พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบตามมาตรการการช่วยเหลือของทางภาครัฐอย่างเต็มที่ และมุ่งหวังว่ากิจกรรมในวันนี้ช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือได้ตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมกันรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกินในโคและกระบือเพื่อไม่ให้มีการระบาดขยายวงกว้าง
{gallery}14june2564_2{/gallery}