ลงพื้นที่เยี่ยมชมสวนมังคุด GAP ของนายไพรัตน์ จุลพันธ์ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
13 มิถุนายน 2564 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินพร้อมด้วย นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายโอภาส ทองยงค์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชมสวนมังคุด GAP ของนายไพรัตน์ จุลพันธ์ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินพร้อมด้วย นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายโอภาส ทองยงค์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชมสวนมังคุด GAP ของนายไพรัตน์ จุลพันธ์ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ปลูก 4 ไร่ ต้นมังคุด 130 ต้น ปีที่ผ่านมีปริมาณผลผลิตประมาณ 9,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 340,000 บาท ซึ่งสหกรณ์การเกษตรพรหมคีรี จำกัด สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช บูรณาการความร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานภาครัฐ เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ การบริหารจัดการสวนมังคุด การผลิตมังคุดคุณภาพ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ การจัดการระบบน้ำ การเก็บเกี่ยว และได้สนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยผสมของสหกรณ์ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต เงินทุน รวมทั้งสหกรณ์ยังเป็นจุดรวบรวมผลไม้ของสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่เพื่อช่วยกระจายผลผลิตไปยังตลาดในจังหวัดและต่างจังหวัด ในอนาคตจะพัฒนามังคุดคุณภาพให้มีมาตรฐานส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาสวนมังคุดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์และชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป
โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในพื้นที่ว่า นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่องของมาตรฐานGAP ของเกษตรกร เพราะผลผลิตการเกษตรต้องผ่านมาตรฐาน GAP เท่านั้น จึง จะสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ ปัจจุบันเกษตรกรมีความตื่นตัวเรื่องมาตรฐานGAP และยื่นขอการรับรอง GAP เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ก็จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด โดยให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ทำงานประสานกัน โดยสหกรณ์การเกษตรแต่ละพื้นที่จะเป็นตัวแทนเกษตรกรในการติดต่อกับกรมวิชาการเกษตร ในการขอรับรองมาตรฐานGAP ให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิก ซึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีเกษตรกรที่ทำสวนผลไม้ ขอรับรองมาตรฐานGAP จำนวน 2400 ราย ก็ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร เร่งออกใบรับรองให้ครบภายในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อเตรียมการส่งออกผลไม้ไปจำหน่ายตลาดต่างประเทศ
{gallery}13june2564_1{/gallery}