บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็น “สถานการณ์การผลิตและการตลาดผลไม้ของสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564”
19 พฤษภาคม 2564 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็น “สถานการณ์การผลิตและการตลาดผลไม้ของสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564” ณ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ ซึ่งการบันทึกเทปในครั้งนี้จะเผยแพร่ในรายการ เรื่องง่ายใกล้ตัว เวลา 20.50 – 21.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ บันทึกเทปสัมภาษณ์ในประเด็น “สถานการณ์การผลิตและการตลาดผลไม้ของสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564” ณ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ ซึ่งการบันทึกเทปในครั้งนี้จะเผยแพร่ในรายการ เรื่องง่ายใกล้ตัว เวลา 20.50 – 21.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD หมายเลข 30
สำหรับสถานการณ์ด้านการผลิตผลไม้ของสถาบันเกษตรกร ปี 2564 ทั่วประเทศนั้น สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตและรวบรวมผลไม้ จำนวน 31 จังหวัด จำนวน 104 แห่งทั่วประเทศ มีพื้นที่ปลูกผลไม้ทั้งหมด จำนวน 760,405 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต จำนวน 603,546 ไร่ สมาชิกผู้ปลูกผลไม้ จำนวน 95,321 คน ผลไม้ที่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรรวบรวม ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลำไย กล้วยหอมทอง สับปะรด เป็นต้น โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดสรรเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เพื่อดำเนินโครงการบริหารจัดการธุรกิจรวบรวมผลไม้ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 1 ให้สหกรณ์กู้ยืมไปเป็นทุนหมุนเวียนในการรวบรวมผลไม้ของสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจรวบรวมและจำหน่ายผลไม้ วงเงินที่จัดสรรไว้จำนวน 122 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายทั้งสิ้น 24 จังหวัด 61 สถาบัน ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ต้องการส่งเสริมให้สหกรณ์ผลิตผลไม้เกรดพรีเมี่ยมให้คนไทยได้รับประทาน โดยใช้ช่องทางเครือข่ายสหกรณ์ในการช่วยกันกระจายผลไม้ไปสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศ และให้สหกรณ์เน้นย้ำกับสมาชิกและเกษตรกรชาวสวนผลไม้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการปลูก การดูแลสวน การเก็บเกี่ยวไปจนถึงการวบรวมผลผลิตเพื่อจำหน่ายสู่ตลาด ด้วยความเชื่อมั่นว่าหากเกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีก็จะสามารถขายได้ในราคาดีและช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะได้รับประทานผลไม้คุณภาพดีที่ผลิตโดยสหกรณ์
นอกจากนี้ สหกรณ์ในจังหวัดจันทบุรี ยังได้เข้าร่วมโครงการ “ Pre-Order ผลไม้ตามฤดูกาล ผ่านช่องทาง E-Commerce” เป็นโครงการตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สหกรณ์ผลไม้ที่มีความพร้อมได้มีช่องทางใหม่ ๆ ในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มเติมและยั่งยืน โดยมีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่สนใจสมัครเข้าร่วม จำนวน 14 จังหวัด 23 สถาบัน มีการดำเนินการกำหนดการประชุมหารือเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการฯ และการวางแผนการจำหน่าย ผลผลิตที่กำลังจะออกสู่ตลาดในฤดูการผลิต ปี 2564 เน้นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่ 3 จังหวัดได้แก่ จันทบุรี ระยอง และจังหวัดตราด โดยได้นำร่องจำหน่ายผลผลิตทุเรียนจากสหกรณ์การเกษตรเมืองขลุง จำกัด จังหวัดจันทบุรี โดยได้ดำเนินการดังนี้ 1. จำหน่ายทุเรียนผ่านบริษัท รอยัลฟาร์ม กรุ๊ป จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 จำหน่ายทุเรียน เกรด A และ B จำนวน 10,263.50 กิโลกรัม มูลค่า 1,220,540 บาท เพื่อจัดจำหน่ายในลักษณะ Pre Order ไปยังประเทศจีน ขนส่งโดยสายการบินเซินเจิ้นแอร์ไลน์ ครั้งที่ 2 จำหน่ายทุเรียน เกรด A B C และ D จำนวน 84,235.00 กิโลกรัม มูลค่า 8,695,483 บาท เพื่อจัดจำหน่ายในลักษณะ Pre Order ไปยังประเทศจีน ขนส่งโดยสายการบินจากประเทศจีน 2. จำหน่ายทุเรียนผ่านสมาคมผู้ประกอบการพืชผักผลไม้ไทย จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 จำหน่ายในนามบริษัท พีดีไอ เทรดดิ้ง จำกัด ทุเรียน เกรด A, B และ C จำนวน 4,000 กิโลกรัม มูลค่า 420,000 บาท เพื่อนำทุเรียนแกะเนื้อส่งไปยังยุโรปและญี่ปุ่น ครั้งที่ 2 จำหน่ายในนามบริษัท สวิฟท์ จำกัด จังหวัดนครปฐม ทุเรียน เกรด A, B และ C จำนวน 3,600 กิโลกรัม มูลค่า 386,295 บาท เพื่อนำทุเรียนแกะเนื้อส่งไปยังยุโรปและญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 จำหน่ายในนามบริษัท พีดีไอ เทรดดิ้ง จำกัด ทุเรียน เกรด A, B และ C จำนวน 3,500 กิโลกรัม มูลค่า 380,926 บาท เพื่อนำทุเรียนแกะเนื้อส่งไปยังยุโรปและญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 จำหน่ายในนามบริษัท สวิฟท์ จำกัด จังหวัดนครปฐม ทุเรียน เกรด A, B และ C จำนวน 3,900 กิโลกรัม มูลค่า 423,499 บาท เพื่อนำทุเรียนแกะเนื้อส่งไปยังยุโรปและญี่ปุ่น ทั้งนี้ จากความสำเร็จในการดำเนินการโครงการดังกล่าว ได้มีแผนที่จะต่อยอดไปยังผลผลิตในภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย
{gallery}19may2564_1{/gallery}