ลงพื้นที่เยี่ยมชมเขตพัฒนาราษฎรบนที่สูงทับเบิก บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
6 มีนาคม 2564 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชมเขตพัฒนาราษฎรบนที่สูงทับเบิก บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และคณะ ลงพื้นที่เยี่ยมชมเขตพัฒนาราษฎรบนที่สูงทับเบิก บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี นางสาวฉันทนา คงนคร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และเกษตรกรในพื้นที่ให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทวงเกษตรและสหกรณ์ รับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงเขาหัวโล้นภูทับเบิก หรือ ทับเบิกโมเดล โดย ดร.สมชาย บุญประดับ หัวหน้าโครงการฯ พร้อมทั้งลงพื้นที่ดูแปลงต้นแบบระบบการปลูกพืชผสมผสานบนพื้นที่สูงภูทับเบิก ของนายซุงโล๊ะ แซ่หลอ พื้นที่ 2 ไร่ ปลูกอะโวคาโดสายพันธุ์แฮสส์ บัคคาเนีย พิงค์เดอตัน และปลูกพืชแซมในแปลง ได้แก่ ข้าวโพด คะน้า แครอท กะหล่ำปลี ผักกาดขาว และบัวหิมะ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เสริมในช่วงรอต้นอะโวคาโดให้ผลผลิต
โครงการทับเบิกโมเดล มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ตุลาคม 2560 - มีนาคม 2564 ในพื้นที่นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ภูทับเบิก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นเขตที่ดินจัดสรรเพื่อการเกษตรกรรมและการอยู่อาศัย ตามแผนแม่บทการแก้ปัญหาพื้นที่ภูทับเบิก 2560 - 2565 จำนวน 13,477 ไร่ ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตพืชที่มีไม้ยืนต้นเป็นพืชหลักอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงเขาหัวโล้นภูทับเบิกเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า การพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตพืชผักปลอดภัยและพืชผักอินทรีย์ ภายใต้ระบบการรับรองแหล่งผลิตพืช GAP และเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูงภูทับเบิก รวมทั้งการศึกษาสมุนไพรพื้นบ้านที่มีศักยภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกาแฟและพืชสมุนไพรที่ปลูกบนพื้นที่สูงภูทับเบิก เพื่อเพิ่มมูลค่าและเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ทั้งนี้ได้มีการบูรณาการกับหลายหน่วยงานในพื้นที่ พัฒนาระบบการผลิตพืชอย่างยั่งยืนบนพื้นที่สูงเขาหัวโล้นภูทับเบิก ตั้งแต่การพัฒนาต้นแบบระบบเกษตรผสมผสานรวมทั้งระบบวนเกษตร เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ ร่วมกันพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตพืชผักปลอดภัยและพืชผักอินทรีย์บนพื้นที่สูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการใช้สารเคมี โดยมีระบบการเชื่อมโยงจากแหล่งการผลิตสู่การตลาดที่ยั่งยืน รวมทั้งศึกษาสมุนไพรพื้นบ้านที่มีศักยภาพและความหลากหลายทางพันธุกรรมสูงและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ปลูกอยู่บนภูทับเบิกเพื่อเพิ่มมูลค่าสามารถพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีรสชาดเฉพาะถิ่นบนพื้นที่สูงภูทับเบิกเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ชุมชน ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ คือ ทำให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงภูทับเบิก มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้เพิ่มขึ้น ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อม และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ดินและน้ำอีกด้วย
{gallery}06mar2564_1{/gallery}