พิธีเปิดงานมาตรการจัดหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนและศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459
23 ธันวาคม 2563 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานมาตรการจัดหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนและศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 โดยมีนายวรชัย ศรีสุวรรณวัฒนา นายอำเภอจอมพระ นายวัฒนะ สัตยวงศ์ทิพย์ สหกรณ์จังหวัดสุรินทร์
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานมาตรการจัดหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืนและศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 โดยมีนายวรชัย ศรีสุวรรณวัฒนา นายอำเภอจอมพระ นายวัฒนะ สัตยวงศ์ทิพย์ สหกรณ์จังหวัดสุรินทร์ บุคลากรธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เกษตรกร ประชาชนในพื้นที่ ร่วมในพิธีเปิดงาน ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
สำหรับการเปิดมาตรการจัดการหนี้นอกระบบอย่างยั่งยืน และเปิดศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 เมืองลีง ในครั้งนี้ เป็นแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง ธ.ก.ส. และศูนย์เรียนรู้ ในการดูแลลูกค้า ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อของ ธ.ก.ส. เพื่อเป็นการช่วยผ่อนคลายภาระหนี้สินนอกระบบ พร้อมทั้งมีการอบรมพัฒนาความรู้ในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ผ่านศูนย์เรียนรู้ โดยเริ่มจากปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ด้วยการลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้ในครัวเรือน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์และปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคภายในครัวเรือน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่จะช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตลูกค้า ธ.ก.ส. สามารถลดรายจ่าย สร้างรายได้ หลุดพ้นจากปัญหาหนี้สินนอกระบบ และให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ต่อไป
“ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459” เริ่มก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2558 หลังจากที่ชุมชนประสบปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งซ้ำซากทางมูลนิธิ ณ ปัญญา โดย ดร.ณรงค์พันธ์ ฉุนรัมย์ ได้นำชุมชนเมืองลีง อบรมสร้างกระบวนการเพื่อพัฒนาเป็นชุมชนวิถีเกษตรอินทรีย์ จาก อาจารย์ประเสริฐ ปิ่นนาค พนักงาน ธ.ก.ส. ซึ่งเป็นวิทยากรให้ความรู้ที่มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก จนเกิดเป็นเมืองลีงโมเดล ซึ่งมีสมาชิกชุมชนเข้าร่วมทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 38 ครัวเรือน และต่อยอดการทำการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งแนวทางเกษตรอินทรีย์ 459 นั้นจะต้องมีการทำแปลงผักหมักดิน ให้ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนปลูกพืชผัก ให้มีการทำปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพไว้บำรุงพืชและไล่แมลง เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ไข่ เป็นโปรตีนไว้บริโภคและอาจมีการเพาะเห็ดต่างๆ ด้วย จนสามารถขับเคลื่อนเกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ ภายใต้ชื่อ “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง 459 เมืองลีง”
{gallery}23dec2563_1{/gallery}