ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
13 ธันวาคม 2563 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะ เยี่ยมชมศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายพิจิตร ศรีปินตา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และคณะ เยี่ยมชมศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายพิจิตร ศรีปินตา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ
โอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับฟังผลการดำเนินงานของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) และได้ให้นโยบายในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ โดยเน้นย้ำการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินงาน การประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยว และกิจกรรมอื่น ๆ รวมทั้งส่งเสริมการปลูกพืชผักสมุนไพร ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ และสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป จากนั้น ได้เยี่ยมชมแปลงปลูกพืชต่างๆ ในบริเวณศูนย์ฯ อีกด้วย
ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ตั้งอยู่บนดอยอินทนนท์ ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2525 ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์ท่านทรงมีพระราชดำรัสให้กองพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการใช้ท้องทุ่งแห่งนี้ เป็นสถานที่ทดลองและขยายพันธุ์พืชบนที่สูง เช่น กาแฟ ข้าวไร่ ข้าวนาปรัง ไม้ผลเมืองหนาว พืชผัก และไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี แก่เกษตรกรบนที่สูง และเพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งศูนย์ฯ มีพื้นที่ประมาณ 450 ไร่ ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์พืชเมืองหนาว และกึ่งหนาวบางชนิด ไม้ผลเมืองหนาว และกึ่งหนาว เช่น พี้ช สตรอว์เบอร์รี พลับ พลัม เกาลัด ฯลฯ ไม้ผลอุตสาหกรรม ได้แก่ มะคาเดเมีย กาแฟอะราบิกา ชาจีน และชาน้ำมันพืชผัก สมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น กล้วยไม้ และสมุนไพร ไม้ดอกและไม้ประดับ เช่น ซิมบิเดียม และเฟิร์น ดำเนินการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์พืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ วิจัยระบบการปลูกพืชบนพื้นที่สูง และเป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงาน และฝึกงาน ของ เกษตรกร นักเรียน นิสิต นักศึกษา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร (ขุนวาง–แม่จอนหลวง) ซึ่งศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ มีพื้นที่งานทดลอง 5 สถานที่ ได้แก่ แม่เหียะ ขุนวาง แม่จอนหลวง โป่งน้อย และผาแง่ม
{gallery}13dec2563{/gallery}