ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด
27 กันยายน 2562 ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า และนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ระดับอำเภอที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ณ จุดบริเวณพนังกั้นน้ำขาด บ้านท่าทางเกวียน หมู่ที่ 4 บ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 6 และบ้านท่าเยี่ยม หมู่ที่ 5 ตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า และนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ระดับอำเภอที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ณ จุดบริเวณพนังกั้นน้ำขาด บ้านท่าทางเกวียน หมู่ที่ 4 บ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 6 และบ้านท่าเยี่ยม หมู่ที่ 5 ตำบลวังหลวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อตรวจความเสียหายของพนังกั้นน้้ำ และสำรวจพื้นที่นาที่เสียหายจากทรายที่ถูกน้ำพัดทับถมที่นาและพื้นที่ทำการเกษตร ซึ่งทรายที่ถูกนำพัดมาถมในพื้นที่ทางการเกษตรมีความสูงถึง 1 เมตร มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 68 ราย พื้นที่ประมาณ 530 ไร่ ซึ่งหน่วยงานราชการได้เข้าให้ความช่วยเหลือตามระเบียบเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 จำนวน 356 ไร่ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยรายละไม่เกิน 5 ไร่ ๆ ละ 7,000 บาท สำหรับพื้นที่ที่ไม่สามารถ ให้ความช่วยเหลือได้ จำนวน 174 ไร่ ทางจังหวัดร้อยเอ็ดได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ความช่วยเหลือ อาทิ กองพันทหารช่างที่ 3 กองพันทหารช่างที่ 6 กองพันทหารช่างที่ 101 องค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6 แขวงการทางร้อยเอ็ด โครงการชลประทานร้อยเอ็ด ได้นำเครื่องจักรกลเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยในพื้นที่ อย่างเร่งด่วน จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ เดินทางไปยังศาลาประชาคมบ้านท่าเยี่ยม หมู่ที่ 5 เพื่อประชุมชี้แจงมาตรการในการให้ความช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรผู้ประสบภัย และรับฟังผู้แทนเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อน เพื่อบูรณาการการให้ความช่วยเหลือต่อไป
จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน "โพดุล" และพายุดีเปรสชั่น "คาจิกิ" ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม ถึงต้นเดือนกันยายน 2562 ส่งผลให้น้ำล้นตลิ่งแม่น้ำชี แม่น้ำยัง ลำน้ำเสียว และลำน้ำสาขาต่างๆ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนของประชาชนครอบคลุมพื้นที่ทุกอำเภอ รวมทั้งอำเภอเสลภูมิ มีพื้นที่ประสบอุทกภัยปี 2562 จำนวน 18 ตำบล 235 หมู่บ้าน ครัวเรือนเกษตรกร 22,158 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 301,130 ไร่ ประสบภัยด้านพืช 18 ตำบล 207หมู่บ้าน เกษตรกร 14,047 ครัวเรือน นาข้าวประสบอุทกภัย 166,173 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 159,791 ไร่ ด้านประมง 700 ครัวเรือน พื้นที่ 950 ไร่ ด้านปศุสัตว์ 870 ครัวเรือน
ในภาพรวมความเสียหายของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 82 แห่ง สมาชิก 20,087 ราย พื้นที่นาข้าวได้รับความเสียหาย 339,749 ไร่ ด้านปศุสัตว์ บ่อกุ้ง 140 ไร่ พันธุ์ปลา 2,081,200 ตัว ซึ่งอำเภอเสลภูมิเป็นพื้นที่ได้รับความเสียหายสูงสุดเป็นอันดับ 2 มีสหกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย 7 แห่ง สมาชิกสหกรณ์ 4,656 ราย เป็นพื้นที่นาข้าวของสมาชิกสหกรณ์ 70,450 ไร่
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ในพื้นที่ประสบอุทกภัย 21 จังหวัด โดยจัดสรรเงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ให้สหกรณ์กู้ยืมได้สหกรณ์ละไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยสหกรณ์สามารถนำไปให้สมาชิกกู้ต่อรายละไม่เกิน 20,000 บาท ปลอดดอกเบี้ยระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ให้นำไปช่วยฟื้นฟูอาชีพให้กับสมาชิก ลงทุนปลูกพืชระยะสั้น เพื่อสร้างรายได้ในเวลาอันรวดเร็ว รวมทั้งกรมฯ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านและเกษตรกรทั้ง 21 จังหวัด จนกว่าจะสามารถผ่านพ้นจากสภาวะที่วิกฤตนี้ไปได้และกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติต่อไป
{gallery}27sep2562_3{/gallery}