Accessibility Tools
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 พัฒนาระบบการเรียนรู้เพื่อยกระดับสมรรถนะ ทักษะ และกรอบคิด (Mindset) ด้านดิจิทัล นวัตกรรม การบริหารจัดการ และความเป็นผู้นำ
แนวทางการพัฒนา
1) กำหนดสมรรถนะหลัก (Core competency) และทักษะของบุคลากรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์
2) พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับสมรรถนะหลักและทักษะบุคลากรที่กำหนดไว้
3) สร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านดิจิทัล นวัตกรรม การบริหารจัดการ และความเป็นผู้นำ
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 สร้างระบบการเติบโตในสายงานและสร้างแรงจูงใจเชิงบวกในการทำงานให้สอดคล้องกับการพัฒนาบุคลากร
แนวทางการพัฒนา
1)ประเมินความผูกพันในองค์กร และแนวทางการพัฒนาองค์กร
2)วางแผนระยะยาวเพื่อพัฒนาบุคลากรให้บุคลากรเติบโตไปเป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ
3)สร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร การแบ่งปันข้อมูลภายในองค์กรให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบรับรู้สถานการณ์ต่าง ๆ หรือนโยบายการจัดการในอนาคตขององค์กร
4)ปรับปรุงระบบแนวทางการประเมินบุคลากรในองค์กร โดยมุ่งเน้นผลงานเชิงประจักษ์หรือการประเมินภายใต้ฐานข้อมูลการปฏิบัติงาน
5)บริหารองค์กรภายใต้ความยืดหยุ่น และเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความสามารถ พร้อมทั้งพิจารณาผลตอบแทนที่เหมาะสม
6)จัดหาสวัสดิการที่สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของกลุ่มบุคลากรในองค์กรในทุกช่วงวัยสร้างวัฒนธรรมองค์กร
ประเด็นการพัฒนาที่ 3 ปรับปรุงภารกิจของหน่วยงานภายในกรมฯ รวมถึงเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการที่ดินนิคมสหกรณ์และกองทุนพัฒนาสหกรณ์ให้เหมาะสม
แนวทางการพัฒนา
1) ศึกษา วิจัย รูปแบบและโครงสร้างที่เหมาะสมส่งผลต่อการดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนปฏิบัติราชการขององค์กรตามที่ได้กำหนดไว้
2) จัดทำแผนปรับปรุงภารกิจของหน่วยงานระยะ 5 ปี และรายปี เพื่อให้เกิดแผนงานที่ชัดเจน และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยผ่านรูปแบบกระบวนการรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดกระบวนการ
3) สื่อสารประชาสัมพันธ์ รับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อให้เกิดความเข้าใจและลดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ
ประเด็นการพัฒนาที่ 4 นำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาพัฒนาการดำเนินงานด้านการสหกรณ์เพื่อสนับสนุนการทำงานบนหลักธรรมาภิบาล
แนวทางการพัฒนา
1) ประเมินบุคลากรในองค์กร และโครงสร้างองค์กร รวมถึงออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร EA และดำเนินการตามแผนพัฒนาสถาปัตยกรรมองค์กรที่กำหนดไว้
2) ออกแบบระบบการจัดการเทคโนโลยี นวัตกรรมองค์กร โดยจัดให้มีกรอบแนวทางการบริหารจัดการนวัตกรรมขององค์กรที่ชัดเจน อันประกอบด้วย นโยบาย เป้าหมาย แผนงานด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมระยะสั้นและระยะยาว ที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในระดับบุคคลและระดับองค์กร โครงสร้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระบวนการด้านการจัดการนวัตกรรม เพื่อมุ่งให้ กสส. เป็นองค์กรแห่งเทคโนโลยี นวัตกรรม
3) ออกแบบโครงสร้างและกระบวนการทำงานให้รองรับการพัฒนาและการสร้างนวัตกรรมในอนาคตที่ถูกนำเข้ามาใช้ในการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
4) เปิดกว้างในการสร้างความร่วมมือด้านความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรมร่วมกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกัน หรือในระหว่างองค์กรเพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ มาประยุกต์ใช้ต่อการพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
5) ส่งเสริมให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ใช้ความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรให้สามารถคิดค้นและประยุกต์ใช้นวัตกรรม รวมทั้ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ และต่อยอดสู่นวัตกรรม
6) ให้ความสำคัญกับการจัดการองค์ความรู้ และระบบคลังนวัตกรรม เพื่อให้เกิดการแบ่งปันองค์ความรู้ ภายในองค์กรให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเด็นการพัฒนาที่ 5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
แนวทางการพัฒนา
1) ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรให้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
2) ศึกษารูปแบบและออกแบบ การจัดการองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับองค์กร โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้บุคลากร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญเข้าถึงองค์ความรู้ได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว รวมถึงเป็นศูนย์ความรู้กลางในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างกัน
3) จัดทำแผนพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์ความรู้ โดยผู้มีองค์ความรู้เรื่องระบบการจัดการความรู้เฉพาะด้าน
4) มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ เพื่อพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และบุคลากรเกิดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน
จนเกิดการแลกเปลี่ยน ความรู้และยกระดับเป็นคลังความรู้ขององค์กร
5) เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยมุ่งหวังให้เกิดองค์ ความรู้ใหม่ ๆ และนวัตกรรมที่เป็นทุนทางปัญญาซึ่งสามารถสร้างคุณค่าให้องค์กรได้
6) ผู้บริหารทุกระดับต้องมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ดังกล่าว และมีหน้าที่ในการสนับสนุนด้านทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์แห่งนโยบาย
ประเด็นการพัฒนาที่ 6 พัฒนาและบูรณาการระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานและการสร้างนวัตกรรม
แนวทางการพัฒนา
1) ประเมินองค์กรและจัดทำแผนบูรณการระบบข้อมูลสารสนเทศระยะยาวและระยะสั้น
2) ออกแบบระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อให้สนับสนุนการทำงานขององค์กร และเพื่อการพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยพิจารณานำระบบ ERP มาเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนา
3) พัฒนาทักษะบุคลากรในองค์กรให้มีทักษะในการวิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการทำงาน กำหนดทิศทาง หรือวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาที่มาจากฐานข้อมูลที่แท้จริง
4) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรในองค์กร สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในการเข้าใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศและการนำไปใช้ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสม
ประเด็นการพัฒนาที่ 7 พัฒนาสมรรถนะ ทักษะ และกรอบคิด (Mindset) ของบุคลากรของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
แนวทางการพัฒนา
1) ประเมินสมรรถนะ ทักษะ ของบุคลากรสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ตามกลุ่มของบุคลากร ประกอบด้วย คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ สมาชิก และผู้ตรวจสอบกิจการ
2) จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ
3) ดำเนินการออกแบบกระบวนการ รูปแบบวิธีการ รวมถึงระบบการพัฒนาบุคลากรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีระสิทธิภาพเพื่อรองรับ
4) ทบทวน ประเมินผล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นการพัฒนาที่ 8 สร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมความร่วมมือของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรและสร้างเครือข่ายด้วยการใช้หลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการอย่างมืออาชีพให้สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตอย่างยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา
1) ประเมินปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสนุนให้สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร และชุมนุมสหกรณ์ทุกระดับเกิดความเข้มแข็ง รวมถึงปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างขบวนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
2) ทบทวนเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวมถึงชุมนุมสหกรณ์ที่เหมาะสม และเผยแพร่สร้างความเข้าใจและยอมรับเกณฑ์การประเมิน โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
3) ศึกษาโครงสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างขบวนการสหกรณ์ที่เหมาะสมกับบริบทปัจจุบันและอนาคต และดำเนินการออกแบบโครงสร้างเครือข่ายร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
4) ทบทวน ประเมินผล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ประเด็นการพัฒนาที่ 9 พัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มหรือขยายธุรกิจ
แนวทางการพัฒนา
1) ประเมินบริบทของสหกรณ์แต่ละประเภท รวมถึงกลุ่มเกษตรกร ในด้านการดำเนินธุรกิจ
เพื่อวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเภท
2) การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการประเมินการสร้างมูลค่าเพิ่มและการขยายตัวทางธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
3) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการไปส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อยกระดับการบริหารจัดการภายในองค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อผลักดันไปสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง และยั่งยืน
4) มุ่งเน้นการส่งเสริมเพื่อยกระดับการพัฒนาไปสู่การเป็นประกอบการธุรกิจ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของสหกรณ์ เพื่อให้สามารถดำรงอยู่และแข่งขันได้ภายใต้บริบทสังคม พฤติกรรม สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ประเด็นการพัฒนาที่ 10 ทบทวนกฎหมายสหกรณ์ กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ (นทส.) ข้อบังคับและระเบียบสหกรณ์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับการนำไปปฏิบัติ
แนวทางการพัฒนา
1) ประเมินกฎหมายสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง ประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ (นทส.) ข้อบังคับและระเบียบสหกรณ์ ที่สำคัญต่อการพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
2) จัดทำแผนการทบทวนกฎหมายสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร กฎกระทรวง ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ
นายทะเบียนสหกรณ์ (นทส.) ข้อบังคับและระเบียบสหกรณ์อย่างเป็นระบบ
3) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมุ่งเน้นการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมและนำไปสู่การพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาตามวิสัยทัศน์
ประเด็นการพัฒนาที่ 11 ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการกำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้อยู่ในกรอบกฎหมาย
แนวทางการพัฒนา
1) ศึกษาและประเมินรูปแบบการดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อนำไปสู่กระบวนการกำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ออกแบบเครื่องมือและกระบวนการดำเนินการ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ
3) จัดทำแผนการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการกำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร และดำเนินการทำแผน
4) พิจารณาการกำหนดกรอบจริยธรรม ของบุคลากรสหกรณ์ในทุกระดับและผลักดันให้เกิดกระบวนการดำเนินการโดยขบวนการสหกรณ์
12 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
คำถามที่พบบ่อย|ช่องทางร้องเรียน|รางวัลที่กรมได้รับ|สำรวจความพึงพอใจ|แผนผังเว็บไซต์
connect us facebook youtube ก Line Official กรมส่งเสริมสหกรณ์
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2564 โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์
Copy Right © 2021 Cooperative Promotion Department. All rights Reserved
12 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
คำถามที่พบบ่อย | ช่องทางร้องเรียน | รางวัลที่กรมได้รับ | สำรวจความพึงพอใจ | แผนผังเว็บไซต์
Line Official กรมส่งเสริมสหกรณ์
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2564 โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์
Copy Right © 2021 Cooperative Promotion Department. All rights Reserved
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์
เริ่มนับวันที่ 1 ต.ค.2561
© 2021 Cooperative Promotion Department. All rights Reserved