สหกรณ์นอกภาคการเกษตร
เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งและดำเนินธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น การรับฝากเงิน การให้กู้เงิน การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย การให้บริการต่างๆ ประกอบด้วย 4 ประเภท คือ
สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลทีมีอาชีพอย่างเดียวกันหรืออาศัยในที่ชุมชนเดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์
และให้กู้ยืมเงินเมื่อเกิดความจำเป็น หรือเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์งอกเงย และได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542
ในภาวะปัจจุบัน ประชาชนประสบปัญหาเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ผู้ที่มีรายได้น้อยได้รับความเดือดร้อนเพราะไม่สามารถจะหารายได้เพิ่มให้เพียงพอกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น
และมักจะแก้ไขปัญหาด้วยการกู้ยืมเงินจากนายทุนโดยยอมเสีย ดอกเบี้ยในอัตราสูง จึงก่อให้เกิดหนี้สินผูกพัน และก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง และครอบครัวภายหลังบุคคลที่
ประสบปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จึงร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยการรวมกลุ่มกัน จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ข้าราชการสหกรณ์และพนักงานธนาคารเพื่อการพัฒนาสหกรณ์ (ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น
“ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร”) จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2492 โดยใช้ชื่อว่า “สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้” ปัจจุบันชื่อว่า “สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัด”
สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ส่งเสริมให้บุคคลที่เป็นสมาชิกรู้จักการประหยัด รู้จักการออมทรัพย์และสามารถบริการเงินกู้ ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น
โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นการร่วมกันแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง ดังนี้
(1) การส่งเสริมการออมทรัพย์ เป็นวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ออมทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1.1 การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการถือหุ้น สหกรณ์กำหนดให้สมาชิกส่งชำระค่าหุ้นเป็นประจำทุกเดือนโดนการหักเงินค่าหุ้น ณ ที่จ่ายเงินเดือนและจ่ายเงินปันผลค่าหุ้น
ให้แก่สมาชิกตามอัตราที่พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ.2542 กำหนดไว้เงินปันผลที่ได้รับนี้ไม่ต้องเสียภาษีให้แก่รัฐ และเมื่อสมาชิกลาออกจากสหกรณ์ก็สามารถถอนค่าหุ้นคืนได้
1.2การส่งเสริมสหกรณ์ออมทรัพย์โดยการรับฝากเงิน สหกรณ์มีบริการด้านเงินฝากทั้งประเภทเงินฝากประจำและเงินฝากออมทรัพย์และให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย
ในอัตราเดียวกับธนาคารพาณิชย์ หรือสูงกว่าตามฐานะของแต่ละสหกรณ์
(2)การให้เงินกู้แก่สมาชิกสหกรณ์ จะนำเงินค่าหุ้นและเงินฝากของสมาชิกมาหมุนเวียนให้สมาชิกที่มีความจำเป็นหรือเดือดร้อนกู้ยืม โดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าเอกชน
ลักษณะการให้เงินกู้เงินกู้ที่สหกรณ์จ่ายให้กับสมาชิกมี3 ประเภท คือ
(1) เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ในกรณีที่สมาชิกมีความจำเป็นเร่งด่วนหรือมีรายจ่ายที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้จากสหกรณ์ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่ง
ของเงินได้รายเดือน แต่จำกัดขั้นสูงไว้ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์และกำหนดส่งชำระคืนไม่เกิน 2 งวดรายเดือน เงินกู้ประเภทนี้ไม่ต้องมีหลักประกัน
(2) เงินกู้สามัญ สมาชิกสามารถกู้เงินประเภทนี้ได้ประมาณ 4-15 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่จะจำกัดขั้นสูงไว้ตามฐานะของแต่ละสหกรณ์และกำหนดส่งชำระคืน
ระหว่าง 24-72 งวดรายเดือน และต้องมีสมาชิกด้วยกันค้ำประกันอย่างน้อย1คน การกำหนดวงเงินกู้ฉุกเฉินและสามัญ จะใช้เงินเดือนเฉลี่ยของสมาชิกแต่ละสหกรณ์เป็นฐานในการกำหนด
ตัวอย่าง เช่น สหกรณ์แห่งหนึ่ง สมาชิกมีเงินเฉลี่ย 10,000 บาท/เดือน ขั้นสูงของวงเงินกู้ฉุกเฉินควรเป็น 5,000 บาท ขั้นสูงของวงเงินกู้สามัญ ควรเป็น 40,000-150,000 บาท
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินและดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ในการกำหนดระเบียบ
(3) เงินกู้พิเศษ ถ้าสหกรณ์มีฐานะมั่นคงแล้ว สหกรณ์จะเปิดบริการให้เงินกู้พิเศษเพื่อให้สมาชิกกู้ไปลงทุนในการประกอบอาชีพ หรือกู้ไปเพื่อการเคหะสงเคราะห์เงินกู้
ประเภทนี้สามารถกู้ตามจำนวนเงินที่จะนำไปลงทุนประกอบอาชีพหรือขึ้นอยู่กับราคาของบ้านและที่ดินที่จะซื้อ หรือจำกัดขั้นสูงไว้ตามที่สหกรณ์กำหนดไว้เป็นคราวๆไป และกำหนดชำระคืน
ตั้งแต่10-15 ปีโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักจำนองค้ำประกัน
การดำเนินงาน
สหกรณ์ออมทรัพย์ดำนินการโดยสมาชิก กล่าวคือ เมื่อได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ขึ้นแล้ว สมาชิกจะเลือกตั้งตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ให้เข้ามาบริหารงาน
ในสหกรณ์ตัวแทนสมาชิกเหล่านี้เรียกว่า“คณะกรรมการดำเนินการ” มีประมาณ 7-15คน ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์ออมทรัพย์นั้นๆคณะกรรมการดำเนินการจะทำหน้าบริหาร
กิจการสหกรณ์โดยจะมีการประชุม อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดนโยบายในการทำงาน แล้วจึงมอบให้“ฝ่ายจัดการ” รับไปปฏิบัติงานต่อไป ฝ่ายจัดการนั้นประกอบด้วย
ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ สมุห์บัญชีเจ้าหน้าที่การเงินฯลฯซึ่งทำหน้าที่บริการแก่สมาชิกที่มาติดต่อทำธุรกิจกับสหกรณ์
ทุนดำเนินงานของสหกรณ์
1. เงินค่าหุ้น
2. เงินรับฝากจากสมาชิก
3. ทุนสำรองและทุนสะสมอื่นๆ
4. เงินกู้ยืม
5. เงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค
การสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์
การเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์มี 2 วิธีคือ
(1) กรณีในหน่วยงานหรือชุมชนที่มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์แล้ว ท่านที่มีความประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกกระทำได้โดยการยื่นใบสมัครต่อสหกรณ์
เพื่อสหกรณ์จะนำใบสมัครของท่านเสนอต่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์พิจารณารับเข้าเป็นสมาชิก เมื่อคณะกรรมการดำเนินการรับท่านเป็นสมาชิกแล้ว ท่านจะต้องชำระเงิน
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ประมาณ 20-50 บาท ชำระค่าหุ้นประมาณ 4-5 % ของเงินรายได้และลงรายมือชื่อในทะเบียนสมาชิก จากนั้นท่านจะมีสิทธิในสหกรณ์เช ่นเดียวกับสมาชิกคนอื่นๆ
สหกรณ์จะจ่ายเงินปันผลตามหุ้นให้แก่ท่าน เป็นประจำทุกปีและเมื่อท่านลาออกจากการเป็นสมาชิกภาพ ท่านสามารถถอนค่าหุ้นคืนทั้งหมดได้ส่วนค่าธรรมเนียม
แรกเข้าสหกรณ์จะไม่จ่ายคืนให้เพราะถือเป็นราบได้ของสหกรณ์อย่างหนึ่ง
(2) กรณีในหน่วยงานหรือชุมชนที่ยังไม่มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ ท่านที่สนใจในกิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์และมีความประสงค์จะจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์
ขึ้นในหน่วยงานหรือชุมชนของท่าน ก็สามารถรวมตัวกัน จัดตั้งสหกรณ์ได้โดยขอคำแนะนำและสอบถามรายละเอียดได้จากสำนักงานสหกรณ์จังหวัด สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์
กรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 และพื้นที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในส่วนภูมิภาค
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
สหกรณ์เป็นของสมาชิกและสมาชิกทุกคนมีบทบาทที่จะควบคุมการบริหารงานของสหกรณ์โดยใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิก ให้ถูกต้องและสม่ำเสมอการร่วมประชุมใหญ่
เป็นทั้งสิทธิและหน้าที่อ้นสำคัญยิ่งของสมาชิกทุกคนควรจะต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสหกรณ์ซึ่งเป็นโอกาสที่สมาชิกจะแสดงบทบาทรักษาสิทธิและปกป้องคุ้มครองผล
ประโยชน์ของตน ตลอดจนการติดตามผลการดำเนินงาน การจัดสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างยุติธรรม กำหนดนโยบายการดำเนินงานรวมทั้งคัดเลือกกรรมการดำเนินการ
ที่มีความสามารถและมอบภารกิจในการดำเนินการต่อไปใน แนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อมวลสมาชิกเสริมสร้างความเจริญมั่นคงให้กับสหกรณ์ โดยสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทุกคนจะ
ต้องร่วมกันอภิปราบปัญหาแสดงความคิดเห็น ออกเสียงและยอมรับมติของที่ประชุม ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายข้อบังคับและระเบียบ เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ โดยร่วมกันพิจารณา ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้
ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจกับสหกรณ์
ด้านการเงิน
(1) เมื่อชำระเงินแก่สหกรณ์ต้องชำระต่อเจ้าหน้าที่การเงินที่สหกรณ์แต่งตั้งไว้เท่านั้น และต้องเรียกใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง เช่น การชำระหนี้ก่อนกำหนด การถือหุ้นเพิ่ม
(2) ควรเก็บใบเสร็จรับเงินทุกฉบับไว้จนกว่าจะได้สอบทานหนี้สินและเงินค่าหุ้นให้ถูกต้องตรงกันเป็นประจำทุกปี
(3) ควรมารับเงินที่สหกรณ์ด้วยตนเอง ถ้าจำเป็นควรมอบฉันทะแก่ผู้ที่ไว้ใจเท่านั้น
(4) เมื่อรับเงินจากสหกรณ์ทุกครั้ง ควรตรวจนับจำนวนเงินให้ถูกต้องก่อนออกจากสหกรณ์ไป
(5) การนำเงินมาฝากกับสหกรณ์สมาชิกต้องยื่นใบฝากเงินพร้อมกับสมุดคู่ฝาก เมื่อรับสมุดคืนให้ตรวจสอบรายมือชื่อผู้มีอำนาจกำกับในสมุดคู่ฝากทุกครั้ง และไม่ควรฝากสมุดคู่ฝากไว้กับพนักงานสหกรณ์
ด้านสินเชื่อ
(1) ควรกู้เงินจากสหกรณ์ในกรณีที่มีความจำเป็นจริงๆ และกู้ในจำนวนที่ต้องการใช้เท่านั้น
(2) จะค้ำประกันใครต้องตัดสินใจให้ดีเพราะถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ผู้ครับประกันจะต้องชำระหนี้แทนโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง
(3) ในกรณีที่สมาชิกสหกรณ์ต้องการรับเงินกู้เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนให้สมาชิกรับเงินดังกล่าวที่สหกรณ์ด้วยตนเอง ถ้าหากจำเป็นให้ทำหนังสือมอบฉันทะโดยมีผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่สหกรณ์ด้วย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ประเทศไทยได้เริ่มจัดตั้งร้านสหกรณ์เมื่อปีพ.ศ. 2480 โดยตั้งขึ้นในหมู่ชาวชนบทของอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ร้านสหกรณ์แห่งนี้ต้องเลิกล้ม
ต่อมาได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์เพิ่มขึ้นอีกหลายๆ แห่ง กรมส่งเสริมสหกรณ์มีโครงการส่งเสริมให้ประชาชนจัดตั้งร้านสหกรณ์ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และแนะนำส่งเสริม
ให้ร้านสหกรณ์ทุกจังหวัดขยายสาขาไปยังอำเภอต่างๆ อย่างทั่วถึง โดยให้ความช่วยเหลือแก่ร้านสหกรณ์ที่มีอยู่แล้ว ให้สามารถดำเนินงานให้บริการสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีปริมาณธุรกิจเพียงพอ และมีฐานะมั่นคง พร้อมกันนั้นก็จะช่วยให้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างสหกรณ์ทุกประเภท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอันที่จะดำเนินธุรกิจ
เกื้อกูลซึ่งกันและกัน อนึ่งร้านสหกรณ์ที่ดำเนินงานประสบความสำเร็จมักจะเป็นร้านสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในตัวเมืองซึ่งประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น และร้านสหกรณ์ที่ตั้งขึ้น
ในหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน สำหรับร้านสหกรณ์ในชนบทนั้นมักดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ร้านสหกรณ์คือ สหกรณ์ที่ผู้บริโภครวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคและรวบรวมผลิตผลผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายแก่สมาชิก
และส่งเสริมความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ร้านสหกรณ์โดยทั่วไปจึงมักกำหนดวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานไว้ดังต่อไปนี้
(1) จัดหาสิ่งของและบริการที่สมาชิกมีความต้องการมาจำหน่าย
(2) รวบรวมผลิตผล ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกมาจำหน่าย
(3) ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ทางสหกรณ์ให้แก่สมาชิก
(4) ส่งเสริมสมาชิกให้รู้จักการประหยัด การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการช่วยตนเอง
(5) ร่วมมือกับสหกรณ์และสถาบันอื่นทั้งภายในและภายนอกประเทศในอันที่จะเกื้อกุลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
(6) ดำเนินธุรกิจอย่างอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้น
ลักษณะการดำเนินธุรกิจ
การบริหารธุรกิจหรือกิจการการของร้านสหกรณ์ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับสหกรณ์ประเภทอื่นๆ คือ ตั้งอยู่บนรากฐานของประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของร้านสหกรณ์
แต่สมาชิกทุกคนจะร่วมกันบริหารกิจการของร้านสหกรณ์ทั้งหมดไม่ได้จึงจำเป็นต้องเลือกตั้งผู้แทนบริหารกิจการแทน เรียกว่า “คณะกรรมการดำเนินการ” ซึ่งมีจำนวนเท่าที่กำหนดไว้
ในข้อบังคับของสหกรณ์ตามปกติจะมีจำนวนระหว่าง 10-15 คน โดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามขนาดและปริมาณธุรกิจของแต่ละสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการมีอำนาจหน้าที่
เป็นผู้ดำเนินกิจการ และเป็นผู้แทนสหกรณ์ในกิจการทั้งปวงคณะกรรมการดำเนินการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ ตลอดจนปฏิบัติ
หน้าที่ในทางอันสมควร เพื่อให้เกิดผลดีแก่ร้านสหกรณ์และแก่สมาชิกแม้ว่าคณะกรรมการดำเนินการจะเป็นผู้ดำเนินกิจการของร้านสหกรณ์ก็ตาม แต่เพื่อให้กิจการของสหกรณ์ดำเนินไป
อย่างกว้างขวาง ให้บริการแก่สมาชิกและบุคคลผู้สนใจทั่วไปอย่างทั่วถึงคณะกรรมการดำเนินการควรจัดจ้างผู้จัดการที่มีความรู้ความสามารถในเชิงการค้าและมีความซื่อสัตย์สุจริต
มาดำเนินธุรกิจของร้านสหกรณ์นอกจากนี้ผู้จัดการอาจจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของร้านสหกรณ์ในด้านต่างๆ ตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงปริมาณธุรกิจและการประหยัดเป็นสำคัญ
ร้านสหกรณ์ควรดำเนินการค้ากับลูกค้าทั้งที่เป็นสมาชิกและมิใช่สมาชิกโดยยึดถือกฎของผู้นำแห่งรอชเดล ดังต่อไปนี้
(1) ขายสินค้าตามราคาตลาดหรือถูกกว่าบ้างเล็กน้อย เพื่อมิให้เป็นศัตรูกับร้านใกล้เคียง
(2) จัดหาสินค้าที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสมาชิกส่วนใหญ่มาจำหน่ายและไม่ปลอมปนสินค้า
(3) เที่ยงตรงในการชั่ง ตวง วัด
(4) จัดซื้อสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพประจำวันมาจำหน่ายให้มากชนิด เพื่อให้สมาชิกเลือกซื้อได้ตามความต้องการ
(5) ขายสินค้าด้วยเงินสด เพื่อช่วยให้ร้านสหกรณ์มีเงินหมุนเวียนได้คล่องตัว และช่วยให้สมาชิกใช้จ่ายเงินโดยมีเหตุผลเพื่อป้องกันหนี้สูญ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 โดยมีประชาชนที่มีอาชีพอย่างเดียวกัน หรือหลาก หลายอาชีพรวมกัน หรือที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องเดียวกัน
รวมตัวกันโดยยึดหลักการประหยัด การช่วยตนเองและ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมอาชีพเพื่อให้เกิดความมั่นคง และรักษาอาชีพดั้งเดิมที่ดี
ให้คงอยู่ต่อไป
สหกรณ์บริการแห่งแรกตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2484 ชื่อ “สหกรณ์ผู้ทำร่มบ่อสร้าง จำกัดสินใช้” อยู่ที่ ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำาแพง จังหวัดเชียงใหม่
ปัจจุบันคือ “สหกรณ์ร่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ไม้บ่อสร้าง จำกัด” เป็นการรวมตัวกันใน กลุ่มผู้มีอาชีพทำร่ม ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้มีการจัดตั้ง “สหกรณ์บริการไฟฟ้าหนองแขม จำกัด”
ที่อำเภอหนองแขม กรุงเทพมหานคร เป็นสหกรณ์ที่ให้บริการด้านสาธารณูปโภค ซึ่งใน พ.ศ. 2521 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เข้าไปดำเนิน การแทนตามกฎหมายสหกรณ์นี้
จึงได้เปลี่ยนประเภทเป็นสหกรณ์ร้านค้า และในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการจัดตั้ง “สหกรณ์ มีดอรัญญิก จำกัด” ที่ตำบลทุ่งช้าง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภายหลังจากนั้นสหกรณ์บริการก็ได้มี การจัดตั้งเพิ่มขึ้นตลอดมา
สหกรณ์บริการรูปแบบต่างๆ
1. สหกรณ์อุตสาหกรรมในครัวเรือน ตั้งขึ้นในหมู่ประชาชนผู้ประกอบอาชีพหัตถกรรมในครัวเรือน เพื่อแก้ปัญหา ในด้านวัตถุดิบและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยการส่งเสริมให้นำวัสดุอุปกรณ์
ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ใน การผลิตสินค้า สหกรณ์รูปนี้แบ่งออกเป็น
- สหกรณ์หัตถกรรมผลิตภัณฑ์ไม้
- สหกรณ์หัตถกรรมอื่นๆ
2. สหกรณ์เดินรถ ตั้งขึ้นในหมู่ผู้ประกอบอาชีพการเดินรถเพื่อให้มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว และสามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้นอกจากนี้ยังเป็นการจัดระเบียบการเดินรถ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
และพระราชบัญญัติสหกรณ์ซึ่งสหกรณ์รูปนี้แบ่งออกเป็น
- สหกรณ์รถยนต์โดยสาร
- สหกรณ์รถยนต์แท็กซี่
- สหกรณ์รถยนต์สามล้อ
- สหกรณ์สี่ล้อเล็ก
3. สหกรณ์เคหสถานและบริการชุมชน ตั้งขึ้นตามความต้องการของประชาชน ผู้มีความเดือนร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย เพื่อให้ทุกคนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
และอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนอย่างมีความสุข สหกรณ์รูปนี้แบ่งออกเป็น
- สหกรณ์เคหสถาน
- สหกรณ์บริการชุมชน
4. สหกรณ์สาธารณูปโภค ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความเดือนร้อนในเรื่องสาธารณูปโภคของประชาชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในเขตชุมชนเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน แบ่งออกเป็น
- สหกรณ์บริการไฟฟ้าพลังน้ำ
- สหกรณ์บริการน้ำบาดาล
- สหกรณ์บริการน้ำประปา
5. สหกรณ์บริการรูปอื่น เป็นสหกรณ์บริการที่ดำเนินธุรกิจไม่อาจจัดเข้า 4 รูปแบบ ข้างต้น
(1) ประกอบธุรกิจด้านการบริการที่ระบุไว้ตามรูปแบบของสหกรณ์
(2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นมาบริการแก่สมาชิกในราคายุติธรรม
(3) รับฝากเงินจากสมาชิกเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
(4) ให้เงินกู้ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ หรือจำเป็นแก่สมาชิก
(5) รวบรวมผลิตภัณฑ์จากสมาชิก โดยจัดหาตลาดจำหน่ายให้
(6) ส่งเสริมสวัสดิภาพของสมาชิกและครอบครัว
(7) ส่งเสริมการช่วยตนเองและการร่วมมือกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิก
(8) ให้การศึกษาอบรมแก่สมาชิกเพื่อให้มีความรู้ทางสหกรณ์และความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ
(9) ร่วมมือกับสหกรณ์อื่นและหน่วยงานต่างๆ เพื่อกิจการความก้าวหน้าของสหกรณ์
วิธีการดำเนินงาน
สหกรณ์บริหารดำเนินงานโดยสมาชิกกล่าวคือเมื่อได้มีการจัดตั้งสหกรณ์บริการขึ้นแล้วสมาชิกจะเลือกตั้งตัวแทนจากที่ประชุมใหญ่ให้เข้ามาบริหารงาน
ในสหกรณ์ตัวแทนสมาชิกนี้เรียกว่า “คณะกรรมการดำเนินการ” ตาม พ.ร.บ.สหกรณ์พ.ศ. 2542 กำหนดให้คณะกรรมการดำเนินการ ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีก
ไม่เกิน 14 คน คณะกรรมการดำเนินการ จะทำหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงของสหกรณ์และต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและมติของที่ประชุมใหญ่ตลอดจน
ในทางอันสมควรเพื่อให้เกิดผลดีแก่สหกรณ์และสมาชิก ทั้งนี้เพื่อให้กิจการของสหกรณ์ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการดำเนินการ ควรจัดจ้างผู้จัดการที่มี
ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจและซื่อสัตย์สุจริตมาเป็นผู้จัดการ นอกจากนี้ผู้จัดการอาจจัดจ้างเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการดำเนินการ
เพื่อช่วยเหลือกิจการสหกรณ์ในด้านต่างๆตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงปริมาณธุรกิจและการประหยัดเป็นสำคัญ
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพหลักหรือมีวงสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ในเขตท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้น
และบุคคลเหล่านั้น มีความปรารถนาจะช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน โดยวิธีการนำเงินของตนเองมาสะสมไว้เป็นกองทุน สมาชิกทุกๆ คนจะต้องสะสมเงินตามความสามารถของ
ตนเองเป็นประจำและสม่ำเสมอตามที่สหกรณ์กำหนด กองทุนที่สมาชิกช่วยกันสะสมนี้ก็จะมีเงินมากขึ้นสามารถจะให้สมาชิกที่มีความจำเป็นจะเดือดร้อนทางด้านการเงิน
กู้ยืมไปบำบัดปัญหาและความเดือดร้อนเหล่านั้น พร้อมกับการชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกแต่ละคน ก็จะสะสมเงินของตนไปในคราวเดียวกันด้วย เงินกู้ก็จะค่อยๆ หมดไป ในขณะที่เงินสะสม
ก็มีมากขึ้น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจึงเป็นสหกรณ์ที่มุ่งหวังในการให้สมาชิกช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บริหาร
โดยสมาชิกและการทำกิจการทุกอย่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสมาชิก
การรวมกลุ่มกันเพื่อดำาเนินการตามแนวคิดของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เป็นการรวมคนจากย่านชุมชนแออัดห้วยขวาง ดินแดง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2508
ใช้ชื่อว่า “เครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา” แต่ขณะนั้นยัง ไม่ได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเดิมเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ในชุมชน จึงอยู่ในรูปย่อยของประเภท “สหกรณ์ออมทรัพย์”
และต่อมาได้รับการกำหนดให้เป็นประเภท “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน” ตามกฎกระทรวง กำหนดประเภทสหกรณ์ที่จะรับ
จดทะเบียน พ.ศ. 2548
หลักการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
หลักการดำเนินงานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนนี้ กำหนดขึ้นมาภายใต้ปรัชญาแห่งการร่วมมือกัน คุณค่าของความยุติธรรม ความเสมอภาคและการช่วยเหลือตนเอง แม้การปฏิบัติจะแตกต่างกันไป
ในแต่ละภูมิภาคของโลก แต่หัวใจของการดำเนินงานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนก็คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการอยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง ที่แสดงออกโดยการทำงานร่วมกัน
เพื่อสร้างสรรค์ชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับตนเองและชุมชน
หลักแห่งประชาธิปไตย
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเปิดรับสมาชิกทุกคนที่เห็นคุณประโยชน์และประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สมาชิกมีสิทธิมีเสียงเสมอภาคกัน (หนึ่งคนหนึ่งเสียง)
และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินงานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยไม่คำนึงถึงจำนวนเงินสะสม/ค่าหุ้น
หลักแห่งการบริการสมาชิก
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจัดบริการต่างๆเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ หลังจากที่จัดสรรเงินสำรองตามข้อบังคับและจ่ายเงินปันผลแก่สมาชิกแล้ว
ส่วนเหลือมที่เหลือคงเป็นของสมาชิก เพื่อประโยชน์ของมวลสมาชิก
หลักแห่งการบริการสังคม
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมุ่งที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาคนและสังคม เสริมสร้างความยุติธรรมแก่มวลสมาชิกและชุมชนที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจัดตั้งและดำเนินงานอยู่
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน จะให้ความสำคัญและให้บริการแก่ทุกคนที่เห็นคุณค่า และต้องการเข้ามามีส่วนร่วมการตัดสินใจต่างๆ จะต้องพิจารณาถึงความสัมพันธ์และประโยชน์ที่จะเกิดกับชุมชนโดยส่วนรวมด้วย
หลักเกณฑ์การจัดตั้งสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ว่าด้วยการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2548 กำหนดว่า “สมาชิกสหกรณ์อาจประกอบด้วยบุคคลทุกสาขาอาชีพ
ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพหลักหรือมีวงสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ในเขตท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์ที่จะจัดตั้ง โดยให้กำหนดคุณสมบัติไว้ในข้อบังคับของสหกรณ์”
เพื่อให้เกิดความชัดเจน จึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับท้องที่ดำเนินงานและกรอบคุณสมบัติสมาชิก สำหรับสหกรณ์ที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้ว
หรือขอจดทะเบียนสหกรณ์ใหม่ในระดับปฐมภูมิดังนี้
1. ท้องที่ดำเนินงาน หมายถึง การกำหนดพื้นที่หรืออาณาเขตที่สหกรณ์สามารถเปิดรับสมาชิกที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
2.กรอบคุณสมบัติของสมาชิกตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ฯข้างต้น จะกำหนดลักษณะของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไว้3 ประเภท แต่สหกรณ์จะต้องระบุไว้เมื่อแรกตั้งสหกรณ์
ในประเภทใดประเภทหนึ่ง โดยให้ยึดถือตามแนวทางปฏิบัติดังนี้
2.1 กรณีกำหนดกรอบคุณสมบัติให้สมาชิกมีภูมิลำเนาเดียวกันหรืออยู่ในชุมชนเดียวกัน ให้มีสมาชิกได้ทุกสาขาอาชีพ แต่ให้จำกัดท้องที่ดำเนินงานหรือคุณสมบัติสมาชิกไว้
ไม่เกินระดับชุมชนหรือระดับอำเภอ เพื่อมิให้สหกรณ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เดียวกันมีท้องที่ดำเนินงานซ้ำซ้อนกัน อันจะบังเกิดผลเสียจากการแข่งขันกันรับสมาชิกและการดำเนินธุรกิจ
ในลักษณะที่มุ่งแสวงหาผลกำไรจนเกิดผลกระทบต่อระบบสหกรณ์โดยรวม
2.2 กรณีกำหนดกรอบคุณสมบัติในการประกอบอาชีพหลักของสมาชิก คุณสมบัติของสมาชิกจะต้องกำหนดให้เป็นผู้ประกอบอาชีพหลักเช่นเดียวกันหรือในองค์กรเดียวกันเท่านั้น
ทั้งนี้การกำหนดท้องที่ดำเนินงานอาจจะกำหนดได้เท่าที่จำเป็นแก่การรับสมาชิกของสหกรณ์ตามการประกอบอาชีพหลักที่กำหนดหรือองค์กรนั้นๆ