สหกรณ์ภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร
เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ผู้มีอาชีพทางการเกษตรรวมตัวกันจัดตั้งขึ้นและดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร เช่น การปลูกพืช ประมง แปรรูปผลผลิต เป็นต้น
ประกอบด้วย สหกรณ์ 3 ปรเภท คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง และ สหกรณ์นิคม
เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งและดำเนินธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น การรับฝากเงิน การให้กู้เงิน การจัดหาสินค้ามาจำหน่าย การให้บริการต่างๆ ประกอบด้วย 4 ประเภท คือ
สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
**คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดแต่ละประเภท
ประเภทสหกรณ์ คือ กลุ่มสหกรณ์ที่มีความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์หลักเพียงอย่างเดียว เช่น กลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มสหกรณ์ประมง กลุ่มสหกรณ์นิคม
กลุ่มสหกรณ์ร้านค้า ฯลฯ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542
ประมวลโดยสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายด้านสหกรณ์ของรัฐบาลว่าจะเน้นส่งเสริมสหกรณ์ประเภทใด ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรด้านต่างๆ
2. เพื่อประโยชน์แก่การรวมตัวของสหกรณ์ในแนวตั้ง (Vertical Integration)คือการตั้งชุมนุมสหกรณ์หรือสหพันธ์หรือสหภาพสหกรณ์ในระดับภูมิภาค
หรือระดับประเทศในกรณีชุมนุมสหกรณ์หรือสหพันธ์สหกรณ์ซึ่งเป็นการรวมกันทางธุรกิจหรือวิสาหกิจ สมาชิกจะต้องเป็นสหกรณ์ประเภทเดียวกันเท่านั้น
แต่ในกรณีสันนิบาตสหกรณ์หรือสหภาพสหกรณ์สมาชิกไม่จำกัดว่าต้องเป็นสหกรณ์ประเภทเดียวกัน เพราะว่าเป็นการรวมกันในด้านอุดมการณ์เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่
ความรู้ความเข้าใจและความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านวิชาการและด้านความสัมพันธ์ภายในขบวนการสหกรณ์ของชาติและกับรัฐบาล ขบวนการสหกรณ์ต่างประเทศ
รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศและบุคคลหรือสถาบันต่างๆ
3. เพื่อประโยชน์แก่การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลสถิติของสหกรณ์แต่ละประเภทอย่างเป็นระบบ เพื่อศึกษาวิจัยและทำรายงานความก้าวหน้าของสหกรณ์แต่ละประเภทประจำปี
อันจะเป็นประโยชน์แก่การวางแผนปรับปรุงและพัฒนาขบวนการสหกรณ์ในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างแท้จริง
4. เพื่อประโยชน์แก่การส่งเสริม และพัฒนาขบวนการสหกรณ์ให้ตรงกับความต้องการของประชาชน และเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก
5.สำหรับประเทศที่ยังใช้ระบบสหกรณ์ที่รัฐอุปถัมภ์เพื่อประโยชน์แก่การวางแผนถ่ายโอนอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐในการส่งเสริม การกำกับ แนะนำ
และการตรวจสอบสหกรณ์ให้แก่ขบวนการสหกรณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปตามความพร้อมและความเจริญก้าวหน้าในการพึ่งตนเองและการปกครองตนเองได้ของสหกรณ์แต่ละประเภท
จนในที่สุดรัฐจะมีอำนาจหน้าที่เพียงรับจดทะเบียนสหกรณ์และควบคุมดูแลให้สหกรณ์ดำเนินงานให้ถูกต้องตามกฎหมายและหลักการสหกรณ์เท่านั้น
มี2 วิธีคือ โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายสหกรณ์และโดยคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์(ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายสหกรณ์)
1. การจัดประเภทสหกรณ์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายสหกรณ์แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
(1) ลักษณะที่ 1 ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์หลายฉบับ เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้มีกฎหมายสหกรณ์สำหรับสหกรณ์แต่ละประเภท
เช่น กฎหมายสหกรณ์การเกษตรสำหรับประเภทสหกรณ์การเกษตร กฎหมายสหกรณ์ประมงสำหรับประเภทสหกรณ์ประมง กฎหมายสหกรณ์ปศุสัตว์สำหรับสหกรณ์ปศุสัตว์
กฎหมายสหกรณ์ป่าไม้สำหรับสหกรณ์ป่าไม้ กฎหมายสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสำหรับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนฯลฯ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา
ซึ่งใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์หลายฉบับก็มีกฎหมายสหกรณ์สำหรับสหกรณ์แต่ละประเภทในทำนองเดียวกัน
(2) ลักษณะที่ 2 ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์ฉบับเดียวเช่น ประเทศไทยและฟิลิปปินส์มีกฎหมายสหกรณ์ฉบับเดียวใช้บังคับแก่สหกรณ์ทุกประเภท
พรบ.สหกรณ์พ.ศ.2511และ พรบ.สหกรณ์พ.ศ.2542ของไทย มาตรา33วรรคสุดท้าย บัญญัติไว้เหมือนกันว่า “ประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียนให้กำหนดโดยกฎกระทรวง”
ในปัจจุบันเราจึงมีกฎกระทรวง (พ.ศ. 2548) ออกตามความใน พ.ร.บ. สหกรณ์พ.ศ. 2542 ใช้บังคับอยู่ โดยกำหนดให้มีสหกรณ์ 7ประเภท คือ
สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์บริการ สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ประมวล
กฎหมายสหกรณ์สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ค.ศ. 1990 มาตรา 23 ได้ แบ่งประเภทสหกรณ์ไว้ 6 ประเภท คือ
สหกรณ์สินเชื่อ
สหกรณ์ผู้บริโภค
สหกรณ์ผู้ผลิต
สหกรณ์การตลาด
สหกรณ์บริการ
สหกรณ์เอนกประสงค์
2. การจัดประเภทสหกรณ์โดยคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์ ประเทศส่วนมากที่ใช้ระบบกฎหมายสหกรณ์ฉบับเดียวไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยประเภทสหกรณ์ไว้โดยเฉพาะเจาะจง
แต่ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายทะเบียนสหกรณ์ที่จะกำหนดว่าสหกรณ์ที่เสนอขอจดทะเบียนนั้น จากวัตถุประสงค์หลักของสหกรณ์ตามที่ปรากฏในร่างข้อบังคับของสหกรณ์นั้นเอง
ในทางปฏิบัติจึงมีระเบียบหรือคำแนะนำของนายทะเบียนสหกรณ์เรื่องการกำหนดประเภทของสหกรณ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมของรัฐให้คำแนะนำแก่คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์และ
ช่วยเหลือในการยกร่างข้อบังคับสหกรณ์การกำหนดประเภท สหกรณ์ในกลุ่มประเทศเหล่านี้จึงมีลักษณะยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับความต้องการของประชาชน
ซึ่งรวมกลุ่มกันจัดตั้งสหกรณ์ได้เสมอสิงคโปร์จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้กำหนดประเภทของสหกรณ์ไว้ในกฎหมาย